ตอนที่ 68 เด็กขโมยลูกอม
ข่าวเกี่ยวกับเด็กขโมยลูกอมที่ร้านค้าซื่อดังแห่งหนึ่ง ย่านดอนเมืองได้พาดหัวข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์หลายฉบับ และก็มีประเด็นกฎหมายหลายเรื่องที่น่าสนใจ นั่นก็คือ การลักทรัพย์ โดยประมวลกฎหมายอาญาได้กำหนดไว้ว่า ใครที่เอาทรัพย์ของคนอื่นไปโดยทุจริตโดยรู้ทั้งรู้ว่าไม่ใช่ของ ตนเอง คนไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะครอบครองเป็นเค้าของทรัพย์นั้น แต่ก็ยังเอาไป อย่างนี้มีความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษ ไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาทตอนที่ 69 เด็กอายุ 9 ปีกระทำผิด
เวลาที่เด็กและเยาวชนไปกระทำความผิดอาญา เขาจะต้องรับโทษทัณฑ์เหมือนเช่นผู้ใหญ่หรือไม่ถ้าเด็กอายุ ไม่เกิน 7 ขวบไปกระทำความผิด เด็กผู้นั้นไม่ต้องรับโทษเลย แต่ถ้าเด็กโตกว่า 7 ขวบ แต่ยังไม่เกิน 14 ขวบ อย่างเช่นเด็กอายุ 9 ขวบไปขโมยลูกอมในร้านค้าซึ่งกลายเป็นข่าวดัง เด็กคนนั้น แม้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ก็ไม่ต้องรับโทษเซ่นเดียวกัน เพียงแต่ศาลอาจจะว่ากล่าวตักเตือนเด็กคนนั้น หรือว่ากล่าว ตักเตือนพ่อแม่ผู้ปกครองที่ปล่อยปละละเลย1ไม่อบรม ลูกหลานด้วยก็ได้อาจจะมีการวางข้อกำหนดให้พ่อแม่ดูแล ลูกเป็นพิเศษหรืออาจให้เจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยดูแลความ ประพฤติของเด็กอีกทางหนึ่งตอนที่ 70 การควบคุมตัวเด็กที่กระทำผิด
แม้จะเป็นผู้กระทำความผิดเหมือนกัน แต่โดยสภาพ ร่างกายสภาพจิตใจวุฒิภาวะที'แตกต่างกัน กฎหมายจึง กำหนดกระบวนการต่าง ๆ เกี่ยวกับเด็กที่กระทำความผิดเป็น พิเศษกว่าผู้ใหญ่โดยทนุถนอมความรู้สึกนึกคิดของพวกเขา เช่น ต้องแจ้งให้พ่อแม่เขาทราบ การควบคุมตัวก็ต้องแยก ออกจากผู้ต้องหาอื่นทีเป็นผู้ใหญ่ มิใช่ควบคุมตัวในห้องขัง บนโรงพัก และจะควบคุมตัวได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง จากนั้นต้องส่งตัว ให้สถานพินิจฯรับเด็กคนนั้นไปดูแลต่อ พอไปถึงสถานพินิจฯ ผู้อำนวยการที่นั้นก็พร้อมตลอด 24 ชั่วโมงที่จะให้ พ่อแม่ผู้ปกครองมาประกันตัวเด็กออกไป ซึ่งส่วนใหญ่มักจะ เป็นการปล่อยชั่วคราวโดยไม่เรียกหลักประกันตอนที่ 71 การสอบสวนเด็ก
ข่าวการควบคุมตัวและถามปากคำเด็ก 9 ขวบที่ขโมย ลูกอมนั้นมีประเด็นกฎหมายที่น่าสนใจนำมาพูดคุยกันหลายเรื่อง ทีเดียว เช่น เมื่อตำรวจจะทำการสอบสวนหรือถาม ปากคำเด็กที่อายุไม่เกิน 18 ปี ไม่ว่าในฐานะผู้เสียหาย ในฐานะพยาน หรือแม้แต่ในฐานะต้องหา การทำงานต่างๆ ของตำรวจต้องเป็นไปอย่างรอบคอบ ระมัดระวังมิให้กระทบ กระเทือนต่อจิตใจ ความรู้สึกนึกคิดของเด็กเหล่านั้น ในการ สอบปากคำจึงต้องแยกเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสม สำหรับเด็ก โดยมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ คนที่ เด็กไว้เนื้อเชื่อใจร้องขอ รวมถึงพนักงานอัยการเข้ามาร่วม ในการลอบปากคำนั้นด้วยตอนที่ 72 สั่งไม่ฟ้องเด็กทำผิด
กรณีเด็กวัย 9 ขวบไปขโมยลูกอมมูลค่าเพียงสามสิบ กว่าบาทนั้นแม้ว่าจะเป็นความผิดอาญาฐานลักทรัพย์ แต่กฎหมายก็เปิดช่องให้ไม่ต้องฟ้องร้องคดีต่อศาล หากผู้อำนวยการสถานพินิจฯพิจารณาอายุ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ นิสัยของเด็ก ประวัติ ฐานะอาชีพของพ่อแม่เด็กและพฤติการณ์ต่าง ๆแล้วเห็นว่า เด็ก อาจกลับตัวเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้องร้องแต่ให้อยู่ในการ คุมประพฤติของสถานพินิจฯ เพื่อแก้ไขฟื้นฟูพฤติกรรม ผู้อำนวยการสถานพินิจฯอาจจะเสนอความเห็นต่อพนักงาน อัยการให้สั่งไม่ฟ้องคดีได้ เพราะความผิดฐานลักทรัพย์นี้มี อัตราโทษขั้นสูงไม่เกิน 5 ปี และหากอัยการเห็นชอบด้วยคำสั่งไม่ฟ้องคดีของอัยการก็เป็นที่สิ้นสุด
ที่มา หนังสือ กฎหมายสามัญประจำบ้าน
โดย กระทรวงยุติธรรม มีนาคม 2552
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น