ตอนที่ 23 คดีรถชน
แม่เมี้ยน : ใครบังอาจขับรถปาดหน้า นี่หล่อน ขับรถยังไงหญิง 1 : โอ้ย ไม่มีเวลาต่อล้อต่อเถียงด้วยหรอกไปเรียกตำรวจมาตัดสินดีกว่า ว่าใครควรจะจ่ายค่าเสียหาย
แม่เมี่ยน : ก่อนจะพูดประโยคนี้ไปศึกษากฎหมายซะก่อนไป อย่างที่ รถเราชนกันน่ะ ตำรวจเค้าก็แค่ตัดสินชี้ขาดว่าระหว่าง หล่อนกับชั้นใครทำผิดกฎจราจร ใครผิดก็ลงโทษเปรียบเทียบ ปรับตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก เพราะส่วนนี้มัน เป็นคดีอาญาแต่ค่าเสียหายว่าควรจะเป็นเงินเท่าไหร่น่ะ เค้าเรียกว่าคดีแพ่ง คู่กรณีต้องตกลงกันเอง แต่ถ้าตกลงกัน ไม่ได้ โน่นเลยต้องไปฟ้องที่ศาล ตำรวจเค้าก็แค่วางตัว เป็นกลาง ไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีปรองดองกัน ตกลงกันได้
ไอ้หมึก : นี่เจ๊คนสวย รู้มั๊ยว่าคนในหมู่บ้านนี่ไม่มีใครกล้าแหยมกับ ป้าของหมึกเลยนะ
หญิง 1 : ป้าเมี้ยนจ่า หนูขอโทษค่ะ หนูผิดไปแล้ว หนูขับรถด้วย ความประมาท หนูยอมซดใช้ค่าเสียหายค่ะ โปรดให้อภัยหนูนะค่ะ
ตอนที่ 24 ความผิดจากยานพาหนะ
ไอ้หมึก : ลุงกำนัน ถ้าเกิดพี่ใข่นุ้ยเอารถไปเกิดเรื่องราวไปชนใคร หรือไปสร้างความเสียหายให้ใคร แล้วอย่างนี้ ใครผิดน่ะลุง ลุงหรือพี่ไข่นุ้ย และใครต้องรับผิดชอบ ค่าเสียหายกำนัน : ตามกฎหมายน่ะผู้ครอบครองหรือควบคุมดูแล ยานพาหนะต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดจาก พาหนะนั้นจะเป็นเจ้าของหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น ถ้าเกิดความเสียหายไข่นุ้ยซึ่งเป็นผู้ครอบครองดูแล และขับขี่ก็ต้องรับผิดชอบ
ไอ้หมึก : แต่ถ้าในฐานะพ่อ ลุงก็ต้องเป็นคนจ่ายอยู่ดีใช่ม้า!
กำนัน : นั่นมันก็คงแน่แหล่ะ ถ้าลูกเดือดร้อนพ่อก็ต้องช่วย แต่จะช่วยให้พ้นผิดกฎหมายน่ะไม่ได้เด็ดขาด ผิดก็ต้องว่าไปตามผิด
ตอนที่ 25 สัญญาซื้อขายสัตว์พาหนะ
กำนัน : ลูกทำไมมาช้าจังล่ะไข่นุ้ย : ก็รถมันดันเร่งไม่ขึ้นน่ะครับ
ไอ้หมึก : ถ้าช้านักนะคราวหลังก็ขี่ม้าไปรับสิพี่เท่ห์ดี นี่พ่อไอ้จุกมันมาเสนอขายอยู่ สนเปล่า หมึกจะได้ ติดต่อให้
น้องอ้อ : ขี่ม้าเหรอ เอาสิพี่ไข่นุ้ย ไปเอามาเลย
ไข่นุ้ย : เอามาเลยคงไม่ได้หรอกจ้ะ การซื้อขายสัตว์พาหนะ อย่างเช่น วัว ควาย ม้านั้น ถ้าเป็นสัตว์ที่ได้ทำตั๋ว พิมพ์รูปพรรณแล้ว การซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ด้วย จะมาเลขายกัน สุ่มสี่สุ่มห้าไม่ไต้หรอกนะเพราะมันไม่มีผลทางกฎหมาย
ตอนที่ 26 เข็มขัดนิรภัยและหมวกกันน๊อค
กฎจราจรนั้นเป็นกฎเพื่อความปลอดภัยไม่แต่เฉพาะ ตัวท่านผู้ขับขี่เท่านั้น ยังรวมถึงผู้โดยสาร และผู้สัญจรไปตาม ท้องถนน เช่น คนเดินเท้าอีกด้วย และหากลองสืบสาวถึง สาเหตุของการเกิดอุบัติภัยบนท้องถนนจะพบว่า ส่วนหนึ่ง มาจากการที่ผู้ขับขี่ไม่เคารพกฎจราจร ทั้ง ๆ ที่กฎเกณฑ์ดังกล่าว มุ่งคุ้มครองตัวท่านเอง เป็นต้นว่า การคาดเข็มขัดนิรภัย และ การสวมหมวกกันน๊อคทั้งตัวผู้ฃับขี่และผู้โดยสาร ไม่ว่าจะ เดินทางใกล้ไกลแค่ไหน จะขับช้าขับเร็วหรือไม่ ไม่สำคัญ การคาดเข็มขัดนิรภัยหรือการสวมหมวกกันน๊อคนั้นคงไม่ใช่ เพราะเกรงจะถูกตำรวจจับ หรือถูกปรับห้าร้อย แต่เพราะเมื่อ อุบัติเกิดขึ้นจริง ๆ เข็มขัดนิรภัยและหมวกกันน๊อคจะทำให้รอด ชีวิตได้
ที่มา หนังสือ กฎหมายสามัญประจำบ้าน
โดย กระทรวงยุติธรรม มีนาคม 2552
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น