วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ตอนที่ 124-126 ผู้ให้เช่าตาย และ สังหาริมทรัพย์เปลี่ยนมือ

ตอนที่ 124 ผู้ใหัเช่าตาย

ท่านเคยสงสัยมั๊ยว่า ถ้าเราไปเช่าทรัพย์สินของคนอื่น แล้วต่อมาผู้ให้เช่าเกิดตายลง ธรรมดาทรัพย์สินชิ้นนั้นก็ย่อม เปลี่ยนมือไปเป็นของทายาทเราที่เป็นผู้เช่าจะทำอย่างไร เจ้าของทรัพย์ผู้ให้เช่าตายไป ทรัพย์นั้นไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน หรือสังหาริมทรัพย์ เช่น  ทีวี ตู้เย็น ก็ย่อมตกทอดสู่ทายาท และทายาทของเค้าก็ต้องรับพันธะผูกพันตามสัญญาเช่า  ต่อไปจนครบอายุสัญญา เช่น ท่านไปเช่าบ้านจากแดงจนถึง ธันวาคมปี 2551 แต่เมื่อต้น เดือนนี้เอง แดงมีอุบัติเหตุเสียชีวิต เอกลูกของแดงที่ได้รับมรดกบ้านหลังนี้มาก็ต้องยอมให้ท่าน อยู่ต่อไปจนครบอายุสัญญาจนถึง เดือนธันวา 51

ตอนที่  125 สังหาริมทรัพย์ที่เช่าต้องเปลี่ยนมือ

โบราณท่านว่าสมบัติผลัดกันชม ทรัพย์สินข้าวของ ต่าง ๆก็อาจมีการเปลี่ยนมือเปลี่ยนเจ้าของกันได้ถ้าเป็น สิ่งของทั่วไปไม่มีพันธะอะไรก็คงไม่มีปัญหาแต่ถ้าเกิดว่า ของสิ่งนั้น เจ้าของเดิมให้คนอื่นเช่าก่อนจะขายเปลี่ยนมือไป อย่างนี้ก็เป็นปัญหาน่าปวดหัวสำหรับ ตัวผู้เช่า สมมุติว่าถ้า ท่านไปเช่ารถยนต์ซักคันต่อมาเจ้าของขายรถให้คนอื่นไป ทั่ง ๆ ที่ สัญญาเช่ารถยนต์ยังไม่สิ้นสุดลงกรณีเช่นนี้เป็นการ เช่ารถยนต์ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ เมื่อมีการถ่ายโอนเปลี่ยน ความเป็นเจ้าของเจ้าของคนใหม่เค้าไม่ต้องผูกพันตาม สัญญา เช่าและเค้าก็สามารถเรียกเอารถคืนจากเราได้แต่ เราผู้เช่าซึ่งเสียประโยชน์ก็สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก เจ้าของรถคันเดิมซึ่งเป็นผู้ให้เช่าได้

ตอนที่ 126  อสังหาริมทรัพย์ที่เช่าต้องเปลี่ยนมือ

ข้าวของทรัพย์สินต่าง ๆก็อาจมีการยักย้ายถ่ายโอน เปลี่ยนมือเปลี่ยนเจ้าของกันได้ดั่งคำ โบราณที่ว่าสมบัติผลัด กันชม ซึ่งถ้าเป็นสิ่งของทั่วไปไม่มีพันธะอะไรก็คงไม่มีบัญหา แต่ ถ้าเกิดว่าของสิ่งนั้นเจ้าของเดิมให้คนอื่นเช่าก่อนจะขาย เปลี่ยนมือไปอย่างนี้น่าปวดหัว ตัวอย่างเช่น ถ้าท่านไป เช่าบ้านเป็นเวลา 3 ปี ทำหลักฐานสัญญาเช่าโดยถูกต้องi  ผ่านไปได้ปีเดียวผู้ให้เช่าเค้ามีความจำเป็นต้องขายบ้าน ใช้หนี้ อย่างนี้เราผู้เช่าจะทำอย่างไร กรณีเช่นนี้ถือเป็นการเช่า อสังหาริมทรัพย์ การเช่าที่ถูกต้องก็ย่อมมีผลผูกพันผู้ชื้อบ้าน หลังนั้นไปจนกว่าจะครบอายุสัญญาเช่า ดังนั้น ท่านสบายใจ ได้เลย ท่านยังคงมีสิทธิอยู่
ในบ้านหลังนั้นต่อไปอีก 2 ปีตามที่ เขียนไว้ในสัญญา

ที่มา หนังสือ กฎหมายสามัญประจำบ้าน
โดย กระทรวงยุติธรรม มีนาคม 2552 


กลับหน้า เมนู กฎหมายสามัญประจำบ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น