ตอนที่ 119 เช่าช่วง 1
บางท่านอาจจะเคยมีประสบการณ์ไปเช่าตึก เช่าบ้าน แต่อาคารหลังนั้นใหญ่โตเกินไป ใช่ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ เช่น บางทีเช่าอาคารพาณิชย์ทั้งหลังแต่ใช้เฉพาะพื้นที่ข้างล่าง เพื่อทำมาค้าขาย ด้านบนก็เลยกั้นเป็นห้องเล็ก ๆ ให้คนอื่นมา เช่าอาศัยอยู่ นอกจากเรา จะเป็นผู้เช่าอาคารจากเจ้าของแล้ว เราก็ยังเป็นผู้ให้เช่าห้องเล็กๆกับผู้เช่าคนอื่นๆอีกด้วย ลักษณะอาการอย่างนี้ทางกฎหมายเรียกกันว่าการเช่าช่วง ซึ่งปกติแล้วไม่สามารถทำได้ ถ้าหากฝ่าฝืนไปให้คนอื่นเช่าช่วง ก็จะถือว่าเราผู้เช่าอาคารเป็นฝ่ายผิดสัญญา เจ้าของ อาคาร ผู้ให้เช่าก็สามารถเลิกสัญญาได้เลย ทั้งนี้เว้นเสียแต่ว่า ในสัญญาเช่าอนุญาตให้ เราเอาไปให้เช่าช่วงต่อได้เราจึงจะ สามารถเอาไปให้เช่าช่วงได้โดยไม่ผิดสัญญาตอนที่ 120 เช่าช่วง 2
เมื่อเราไปเช่าทรัพย์สินสิ่งใดมา ถ้าเป็นการเช่าบ้าน เช่าอาคารพาณิชย์ หรือเช่าที่ดิน บางครั้งเราอาจจะใช้สอย ใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ควร จะมีการตกลงกันไว้ให้ชัดใน สัญญาเช่าเลยว่าผู้ให้เช่ายินยอมให้มีการเช่าช่วงได้ อย่างนี้ เราผู้เช่าก็สามารถเอาทรัพย์สินนั้นไปหาประโยชน์ต่อได้ ทั้งนี้ การยินยอมหรืออนุญาต ให้เช่าช่วงนั้นจะระบุอนุญาตไว้ ตั้งแต่ทำสัญญาเช่าฉบับแรกเลยก็ได้หรือจะมาตกลงให้ การ ยินยอมกันภายหลังก็ได้แต่ข้อสำคัญคือว่าให้ทำคำยินยอม ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากนั้นอย่าลืมว่าจะเช่าช่วง เช่าตรง ก็เป็นสัญญาเช่าประเภทหนึ่ง ดังนั้นการเช่าช่วง บ้าน ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ถ้ายาวนานกว่าสามปีก็ให้ไปจดทะเบียนด้วยตอนที่ 121 เซ้ง
เดิมคำว่า เซ้ง เป็นภาษาจีน แต่ความที่คนไทยใช้กัน ติดปากก็เลยกลายเป็นคำไทยที่เข้าใจกันทั่วไปไม่ต้องแปล โดยปกติ การเซ้งมักจะเกิดขึ้นกับแผงลอย พื้นที่ค้าขาย และ อาคารพาณิชย์ เช่น ไปเช่าแผงลอยขายของที่มาบุญครอง ค้าขายดีมีกำไรมีเงินพอที่จะ หาที่ทางค้าขายเป็นการถาวร ก็เลยโอนสิทธิการใช้ประโยชน์ในแผงลอยขายของอันนั้น ให้แก่คนอื่นไปโดยเก็บสตางค์บ้างบางส่วน นี่ล่ะการเซ้ง หรือที่ภาษากฎหมายเรียกว่า การโอนสิทธิการเช่า เมื่อมีการ เซ้งก็ถือเสมือนหนึ่งว่าผู้รับโอนสิทธิการเช่าหรือคนเซ้ง เข้าไปแทนที่ของเราในสัญญาเช่ามีสถานะเป็นผู้เช่าแทนเราไป โดยปริยายมีหน้าที่ชำระค่าเช่าให้แก่เจ้าของทรัพย์สินผู้ให้เช่า โดยตรงตอนที่ 122 เซ้ง 2
การเซ้ง หรือการโอนสิทธิการเช่านั้น มีผลทำให้คนเซ้ง เข้าไปแทนที่ผู้เช่าในสัญญาเช่าเดิมผู้เช่าคนเดิมมีหน้าที่ต้อง ทำอย่างไร ต้องจ่ายค่าเช่าเท่าไหร่ เราที่เป็นคนเซ้งต้องทำ ตามนั้นและเมื่อใดก็ตามที,ท่านจะไปเซ้งตึก เซ้งแผงลอย หรือเซ้งอะไรก็ตาม ก็ขอแนะ นำให้ตรวจสอบเรื่องต่าง ๆ ต่อไป นี้ก่อนอื่นดูสัญญาเช่าเดิมอนุญาตให้มีการเซ้งต่อหรือไม่ แต่แม้สัญญาจะไม่เปิดช่องไว้ก็อาจมีการขอความยินยอม จากผู้ให้เช่าในภายหลังได้ จากนั้นดูว่าสัญญาเช่าเดิมมี กำหนดเวลาเช่าเหลืออีกกี่ปี คุ้มค่าที่เราจะเซ้งต่อหรือเปล่า เมื่อตกลงกันได้แล้วก็อย่าลืมทำเป็นหนังสือและแจ้งให้เจ้าของตึกผู้ให้เช่าทราบด้วย
ที่มา หนังสือ กฎหมายสามัญประจำบ้าน
โดย กระทรวงยุติธรรม มีนาคม 2552
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น