ตอนที่ 41 สินบนจราจร
เวลาที่ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะบนท้องถนนบางคน กระทำผิดกฎจราจรขับรถฝ่าไฟแดงบ้างขับขี่สวนเลนบ้าง หรือกลับรถในจุดที่ไม่ได้อนุญาตไว้แล้วถูกตำรวจจราจรจับกุม หลายๆ คนไม่อยากเสียเวลา ไม่อยากเสียค่าปรับก็เลย พยายามอ้างถึงผู้ใหญ่หรือบางคนก็เสนอเงินหลักสิบหลักร้อยแลกกับการต้องเสียค่าปรับหลายร้อยบาท หรือบางที ข้อเรียกร้องทำนองนี้ก็มาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเองก็มีเหมือนกัน พฤติกรรมเช่นนี้ถือเป็นการคอรัปชั่น รับสินบน ผิดทั้งผู้ไห้ และผู้รับทั้งผู้ขับขี่ที่จ่ายสตางค์และเจ้าหน้าที่ผู้รับสินบน มีความผิดถึงขั้นติดคุกซึ่งโทษหนักหนากว่าการผิดกฎจราจร เล็กๆ น้อยๆหลายเท่า และยังเป็นการสร้างวัฒนธรรม การคอรัปชั่นในสังคมไทยตอนที่ 42 อำนาจของตำรวจ จราจร
การจ่ายเงินสินบนเพื่อหลีกเลี่ยงใบสั่งและการชำระ ค่าปรับตามกฎหมายนั้นทั้งผู้ให้และผู้รับมีโทษถึงขั้นติดคุก ร้ายแรงกว่าการฝ่าฝืนกฎจราจรตามปกติ และในวันนี้จะต่อกันด้วยเรื่องอำนาจของตำรวจในการลงโทษผู้กระทำผิด กฎจราจรโดยทั่ว ๆไป เมื่อตำรวจจราจรพบเห็นการกระทำผิด กฎจราจร ตำรวจก็มีอำนาจว่ากล่าวตักเตือนหรือออกใบสั่ง ให้ไปชำระค่าปรับ โดยตำรวจมีอำนาจที่จะเรียกเก็บใบอนุญาต ขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ หรือถ้าไม่พบตัวผู้ขับขี่ตำรวจก็อาจจะเขียนและติดใบสั่งไว้ที่รถในจุดที่ผู้ขับขี่สามารถมองเห็น ได้สะดวกโดยทางผู้ขับขี่ที่ได้รับใบสั่งก็มีหน้าที่ไปชำระค่าปรับ ตามเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่งซึ่งปกติก็มักจะเป็นภายใน 7 วัน
ที่มา หนังสือ กฎหมายสามัญประจำบ้าน
โดย กระทรวงยุติธรรม มีนาคม 2552
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น