วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ตอนที่ 17 และ18 การดูแลทรัพย์ที่ฝาก และผู้จัดการทรัพย์

ตอนที่ 17 การดูแลรักษาทรัพย์ที่ฝาก

ไข่นุ้ย:  มาแล้วจ้า พี่ไปขอยืมรถไอ้ยาวเพื่อนพี่มารับน้องอ้อแล้ว เอ้า เชิญจ้า
น้องอ้อ : โอ๊ย ! พี่ไข่นุ้ยขับรถยังไงชนต้นไม้อีกแล้ว
ไข่นุ้ย : ตายล่ะหว่า ต้องเสียเงินค่าซ่อมรถให้ไอ้ยาวซะแล้ว เพราะเราไปยืมรถขามา

น้องอ้อ : ก็ให้เขาซ่อมเองสิ
ไข่นุ้ย : ไม่ได้หรอกน้องอ้อตามกฎหมายน่ะบอกไว้เลยว่า ค่าใช้จ่ายที่เป็นปกติซึ่งเกิดจากการบำรุงรักษาทรัพย์สิน ที่ยืมมานั่นผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย อย่างรถที่พี่ยืมมาเนี่ย ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายตามปกติ สำหรับรถทั่วไป เช่น ค่าล้างรถ ค่าเติมน้ำมัน ค่าที่จอดรถ หรือถ้าขับรถชนก็ต้องซ่อมให้เขา ค่าใช้จ่ายปกติพวกนี้เราเรียกเก็บจากผู้ให้ยืมไม่ได้

น้องอ้อ : และถ้าถึงขั้นที่เราต้องเอารถไปยกเครื่องใหม่ล่ะ ใครจ่าย
ไข่นุ้ย: ค่ายกเครื่องรถนั่นไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายตามปกติ เจ้าของรถก็ต้องเป็นผู้ออกเอง ซึ่งพี่คงตัดสินใจโดยพลการ เอาไปยกเครื่องเองไม่ได้


ตอนที่ 18 การจัดการทรัพย์ของผู้หายไป

ไอ้หมึก : หมึกมีเรื่องสงสัยเกี่ยวกับเรื่องสาบสูญถ้าเกิด ช่วงที่คนหายไปแต่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคน สาบสูญล่ะ แล้วใครจะจัดการเรื่องทรัพย์สินของเขาล่ะพี่

ไข่นุ้ย : ก็ถ้าใครหายไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดย ไม่ได้ตั้งตัวแทนรับมอบอำนาจไว้ และก็ไม่มีใคร รู้แน่ว่าคนนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ถ้าเกิดมีผู้ที่มี ส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลก็จะ สั่งให้จัดการทรัพย์สินของคนที่หายไปนั้นได้ แต่ต้องที่จำเป็นเท่านั้นนะ และเมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี แล้วคนนั้นก็ยังไม่กลับมาและก็ไม่มีใครได้ ข่าวคราวของเขาอีกเลย เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือ อัยการร้องขอต่อศาลอีก ศาลก็จะจัดตั้งผู้จัดการ ทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ขึ้นก็ได้

ไอ้หมึก : งั้นอย่างนี้ผู้จัดการทรัพย์สินก็มีอำนาจล้นมือสิ
ไข่นุ้ย: ไม่หรอก กฎหมายเค้าก็ดูแลอยู่ โดยให้ผู้จัดการ
ทรัพย์สินที่ศาลได้ตั้งขึ้นต้องทำบัญชีทรัพย์สิน ของผู้ไม่อยู่ให้เสร็จภายในสามเดือน แต่ถ้าจะขอ ขยายเวลาก็ได้นะ และพอทำเสร็จก็ต้องมีพยาน อย่างน้อยสองคนและพยานก็ต้องเป็นสามี ภรรยา หรือญาติที่บรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ถ้าไม่มี ใครเลยก็ให้คนอื่นที่บรรลุนิติภาวะแล้วเป็น พยานก็ได้

ไอ้หมึก : เออ กฎหมายก็ดีนะ คุ้มครองประชาซนทั้งยาม อยู่แล้วไม่อยู่


ที่มา หนังสือ กฎหมายสามัญประจำบ้าน
โดย กระทรวงยุติธรรม มีนาคม 2552 


กลับหน้า เมนู กฎหมายสามัญประจำบ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น