วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ตอนที่ 43,44,45,46,47,48 ตำรวจไม่สามารถยึดบัตรยึดรถได้

ตอนที่ 43 ยึดบัตร ยึดรถไม่ได้ 1

มีข้อถกเถียงข้อสงสัยกันมานานแล้วว่าเมื่อตำรวจ จราจรจับกุมผู้กระทำผิดกฎจราจรทั่วๆไป เช่น ขับขี่รถ จักรยานยนต์แต่ไม่สวมหมวกกันน็อค ขับรถโดยไม่พกพา ใบอนุญาตขับขี่ ตำรวจมีอำนาจยึดบัตรประชาชน บัตรเครดิต บัตรอื่นๆ หรือยึดรถยึดกุญแจรถคันนั้นไว้ได้หรือไม่ และเมื่อ ลองไปสำรวจกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายจราจรทางบก กฎหมายรถยนต์กฎหมายบัตรประชาชนไม่ปรากฏว่ามี บทมาตราใดให้อำนาจตำรวจจราจรยืดบัตรประชาชน หรือ บัตรอื่น ๆ ไว้ได้และยิ่งถ้าเป็นการยึดกุญแจรถหรือยึดรถไว้ เพราะเหตุเพียงแค่กระทำผิดกฎจราจรเล็กๆ น้อยๆ ตำรวจ ยิ่งไม่มีอำนาจกระทำได้

ตอนที่ 44 ยึดบัตร ยึดรถไม่ได้ 2

หลาย ๆ ท่านที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัดอาจจะคุ้นเคย กับภาพที่ตำรวจจราจรยึดกุญแจรถ หรือยึดบัตรอื่นๆ ที่ไม่ใช่ ใบอนุญาตขับขี่ เพราะผู้ขับขี่ยานยนต์คนนั้นกระทำผิด กฎจราจรได้รับใบสั่ง โดยตำรวจอ้างว่าให้ไปชำระค่าปรับตาม ใบสั่งเสียก่อนแล้วเอาใบเสร็จมาโชว์ก็จะคืนกุญแจรถหรือ คืนบัตรอื่นๆ ให้ สำหรับบางคนที่พอจะมีสตางค์จ่ายค่าปรับ เดี๋ยวนั้น ก็คงจะรีบไปจ่ายแต่ถ้าบางคนยังไม่มีเงินก็คงต้อง รอจนกว่าจะมี จากนั้นค่อยไปจ่ายค่าปรับและนำกุญแจรถ นำรถ หรือนำบัตรอื่นๆ คืนไปในภายหลัง ในเรื่องนี้ขอยํ้าว่า ทั้งกฎหมายจราจรทางบกและกฎหมายรถยนต์ไม่ได้ ให้อำนาจตำรวจจราจรกระทำเช่นนั้นได้

ตอนที่ 45 ยึดบัตร ยึดรถไม่ได้ 3

หลักนิติรัฐนั้นเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญที่รัฐธรรมนูญไทย รับรองไว้ หลักการนี้มุ่งคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยรัฐและเจ้าหน้าที่ชองรัฐไม่ลามารถใช้อำนาจก้าวล่วง เข้ามาจำกัดตัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ถ้าไม่มีกฎหมาย ระดับพระราชบัญญัติเขียนระบุให้อำนาจเอาไว้ อย่างเช่น กรณี ที่ผู้ขับขี่รถยนต์บนท้องถนนขับรถโดยไม่พกพาใบอนุญาต ขับขี่นั้น แน่นอนเป็นความผิดตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายก็ ได้กำหนดโทษและอำนาจของเจ้าหน้าที่ไว้แล้วอย่างชัดเจน คือ ให้ออกใบสั่งให้ไปชำระค่าปรับภายในเวลาที่กำหนด ไม่มี มาตราไหนให้อำนาจเจ้าหน้าที่ยึดกุญแจรถ หรือยึดบัตรอื่น ๆ ไว้ได้ ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจกระทำการเช่นนี้ไม่ได้

ตอนที่ 46 ยึดบัตร ยึดรถไม่ได้ 4

บางท่านอาจเคยทำผิดกฎจราจร เซ่น ขับรถฝ่า สัญญาณไฟ จอดรถในที่ห้ามจอด ขับขี่จักรยานยนต์โดย ไม่สวมหมวกกันน็อค และถูกตำรวจจราจรจับได้รับใบสั่ง ให้ไปชำระค่าปรับในบางท้องที่ถึงขนาดมีการยึดกุญแจรถไว้ จนกว่าจะนำใบเสร็จค่าปรับมาแสดงจึงจะนำกุญแจรถขับรถ กลับไปได้ อย่างไรก็ตาม การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจกระทำเช่นนี้ ถือว่ากระทำการเกินอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ เพราะว่า กฎหมายจราจรทางบกให้อำนาจเจ้าพนักงานจราจรจับกุม ผู้ขับขี่ที่ฝ่าฝ่าฝืนกฎหมายมีอำนาจว่ากล่าวตักเตือน ออกใบสั่ง ให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับ หรืออย่างมากก็คือ เรียกเก็บใบอนุญาต ขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวโดยต้องออกใบรับแทนใบอนุญาต ขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้เท่านั้น

ตอนที่ 47 ถูกยึดใบขับขี่ 1

เมื่อทำผิดกฎจราจรถูกตำรวจจับกุม ถูกยึดใบขับขี่ ได้รับใบสั่ง ท่านก็มีหน้าทีไปชำระค่าปรับที่สถานีตำรวจ ในเขตท้องที่และภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในใบสั่ง ซึ่งปกติ ก็มักจะไม่เกิน 7 วัน หรืออาจชำระทางไปรษณีย์ธนาณัติก็ได้ ในกรณีที่ท่านถูกยึดใบขับขี่ ท่านก็อาจใช้ใบรับแทนใบขับขี่ ไปพลางก่อนได้แต่ได้ไม่เกิน 7 วัน เมื่อไปชำระค่าปรับ เรียบร้อยตำรวจก็จะคืนใบขับขี่ให้ อย่างไรก็ตาม ถ้าท่านได้ รับใบสั่งแล้วไม่ไปชำระค่าปรับโดยไม่มีเหตุอันควร ท่านอาจ ถูกออกหมายเรียกให้ไปโรงพักหรืออาจจะไม่สามารถต่อ ทะเบียนรถยนต์จนกว่าจะชำระค่าปรับให้ถูกต้องซะก่อน และ ที่สำคัญยังอาจต้องโทษปรับเพิ่มขึ้นอีกด้วย


ตอนที่ 48 ถูกยึดใบขับขี่ 2

ท่านที่ฝ่าฝืนกฎจราจรถูกตำรวจออกใบสั่งและยึด ใบขับขี่ไว้ท่านมีหน้าที่ชำระค่าปรับภายใน7วันในระหว่างนั้น ท่านก็สามารถใช้ใบรับแทน แทนใบขับขี่ไปพลางก่อนได้ แต่หากครบกำหนด 7 วันเมื่อไหร่ ท่านยังคงฝ่าฝืนขับรถ ท่านก็ จะมีความผิดเพิ่มขึ้นอีกข้อหาหรือขับรถในขณะถูกยึด ใบอนุญาตขับขี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท จากข้อหานี้เพิ่มขึ้นมาจากข้อหาเดิมและยิ่งกว่านั้นหากท่าน ไม่ยอมไปชำระค่าปรับ แต่กลับไปแจ้งความว่าใบขับขี่หาย และไปทำใบอนุญาตขับขี่ฉบับใหม่จากเดิมที่เป็นความผิด กฎจราจรเล็กๆ น้อยๆ โทษปรับไม่ถึงพันบาท จะกลายเป็น ความผิดฐานแจ้งความเท็จ มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 6 เดือน 

ที่มา หนังสือ กฎหมายสามัญประจำบ้าน
โดย กระทรวงยุติธรรม มีนาคม 2552 


กลับหน้า เมนู กฎหมายสามัญประจำบ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น