ตอนที่ 103 รุกล้ำที่ดินข้างเคียง
ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนในที่ดินซึ่งอยู่ในเขต หัวเมืองหรือในบริเวณที่มีความ เจริญและที่ดินมีราคาสูง ๆ นั้นปกติก่อนการก่อสร้างเจ้าของที่ดินต้องรังวัดสอบเขต ที่ดิน ให้แน่นอนเสียก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้มีการปลูกสร้าง รุกลํ้าเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น แต่ หากเป็นการปลูกสร้างในที่ดิน ซึ่งตั้งอยู่ในชนบทมักไม่ค่อยมีการรังวัดสอบเขตที่ดินทำให้ เมื่อก่อสร้างบ้านเรือนแล้วเกิดปัญหารุกล้ำเข้าไปในที่ดินของ ผู้อื่นที่อยู่ข้างเคียง และ หากเกิดกรณีเช่นนี้กฎหมายก็กำหนด หลักเกณฑ์เพื่อสร้างความเป็นธรรมไว้แล้วโดย ยึดถือความ สุจริตของการปลูกสร้างนั้นเป็นสำคัญตอนที่ 104 รุกล้ำที่ดินข้างเคียง 2
เมื่อเกิดปัญหามีการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนรุกล้ำ เข้าไปในที่ดินข้างเคียงซึ่งเป็นของ คนอื่นนั้นกฎหมายก็จะ พิจารณาความรับผิดโดยยึดถือความสุจริตของเจ้าของที่ดิน ผู้ ปลูกสร้างเป็นสำคัญซึ่งถ้าหากเป็นการปลูกสร้างรุกลํ้าเข้า ไปในที่ดินข้างเคียงโดยสุจริต คือไม่รู้จริง ๆว่ากำลังปลูก สร้างในที่ดินของคนอื่น เช่น อาจเป็นเพราะเจ้าหน้าที่รังวัด คลาดเคลื่อนบุคคลที่ปลูกสร้าง'โดยสุจริตก็ไม่รื้อถอนออกไป แต่ต้องจ่ายเงินค่าใช้ที่ดิน ให้แก่เจ้าของที่ดินข้างเคียง จากนั้น ก็ให้ไปจดทะเบียนภาระจำยอมที่สำนักงานที่ดิน และ เมื่อ อาคารหลังนั้นพังทลายลงไปเจ้าของที่ดินก็เรียกให้เพิกถอน การจดทะเบียนภาระจำยอมได้ตอนที่ 105 รุกล้ำที่ดินข้างเคียง 3
เมื่อเกิดปัญหามีการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนรุกลํ้า เข้าไปในที่ดินข้างเคียงของคนอื่น กฎหมายจะให้ความคุ้มครอง โดยพิจารณาจากความสุจริตของเจ้าของที่ดินผู้ปลูกสร้าง ซึ่งถ้าหากเป็นการปลูกสร้างรุกลํ้าเข้าไปในที่ดินข้างเคียงโดย ไม่สุจริต เจ้าของที่ดินที่ถูกรุกลํ้าก็สามารถเรียกให้ผู้ปลูกสร้าง รุกลารื้อถอนเฉพาะส่วนทีรุกลํ้าออกไปได้ และยังต้องปรับ สภาพที่ดินให้กลับสู่สภาพเดิมด้วยโดยค่าใช้จ่ายต่างๆในการ รี้อถอนผู้รุกลํ้าจะต้องจ่ายเองทั้งสิ้นส่วนปัญหาว่าปลูกสร้าง รุกลํ้าโดยสุจริตหรือไม่นั้นตัดสินกันยากแต่ก็มีข้อสังเกตว่า ถ้าผู้ปลูกสร้างไม่ยอมรังวัดที่ดินสอบแนวเขตก่อนปลูกสร้าง พูดง่าย ๆ ก็คือประมาทเลินเล่อ แล้วจะมาอ้างว่าตนเองสุจริต ก็คงลำบาก
ที่มา หนังสือ กฎหมายสามัญประจำบ้าน
โดย กระทรวงยุติธรรม มีนาคม 2552
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น