ตอนที่ 35 ตำรวจตรวจจับความเร็ว
คนที่ขับรถเดินทางไปพักผ่อนยังต่างจังหวัดอาจจะ สังเกตเห็นความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเรื่องกฎ จราจร การตรวจแอลกอฮอล์ผู้ขับขี่ การตรวจจับความเร็ว รถยนต์ ล่าสุดตำรวจทางหลวงได้นำเทคโนโลยีกล้องตรวจจับ ความเร็วมาไช้ในเส้นทางหลักทั่วประเทศ รถคันไหนที่ขับ ด้วยความเร็วเกินกำหนด แต่ไม่ถูกจับกุมในขณะนั้น ก็อย่าเพิ่ง ลำพองใจไป เพราะกล้องจะถ่ายภาพรถซึ่งใช้ความเร็วเกินกว่าที่ กฎหมายกำหนดวิ่งผ่านโดยอัตโนมัติ จากนั้น ตำรวจจะส่ง ภาพถ่ายดังกล่าวทั่งภาพรถจุดเกิดเหตุวันเวลาที่เกิดเหตุ ความเร็วที่จุดนั้นล่งไปพร้อมใบสั่งตามโครงการ “ส่งใบสั่ง ถึงบ้าน”ตอนที่ 36 ถูกจราจรจับ
ในต่างจังหวัดประชาชนที่สัญจรไปมา โดยใช้รถ จักรยานยนต์หลาย ๆคนมักจะมีปัญหากับตำรวจจราจร ซึ่งต้องบอกว่านั่นเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน เพื่อกวดขันการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งถ้าทุกคนเคร่งครัดเคารพ กฎหมายเช่น สวมหมวกกันน๊อค มีกระจกมองข้าง มีใบขับขี่ และพกพาในขณะขับขี่ ขับรถถูกต้องตามกฎจราจร ก็ไม่น่า จะมีปัญหาอะไรแต่ที่เป็นปัญหาก็เพราะหลาย ๆคนไม่เคารพ กฎหมายและกฎจราจร นึกอยากจะเลี้ยวก็เลี้ยว อยากกลับรถ ก็กลับรถบางคนอายุยังไม่ถึงยังไม่มีใบขับขี่ก็ฝ่าฝืน พอเจ้าหน้าที่เรียกตรวจสอบก็เลยโดนใบสั่ง ส่วนโทษจะมาก จะน้อยนั่นก็แล้วแต่ข้อหาที่ฝ่าฝืนตอนที่ 37 ถูกจราจรจับ 2
เวลาขับขี่ยวดยานพาหนะไปตามท้องถนนแล้วเจอ ด่านตรวจหรือมีตำรวจจราจรเรียกให้หยุดรถ ก็เป็นหน้าที่ของ ผู้ขับขี่ที่จะต้องหยุดรถและอำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงาน จราจรเพื่อตรวจสอบครับ ถ้าหากว่า เราทราบคำสั่งให้หยุดรถ แล้วไม่ยอมปฏิบัติตามโดยที่ไม่มีเหตุผลหรือไม่มีข้อแก้ตัว ที่เหมาะสม ท่านก็อาจเสี่ยงต่อโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือ ปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับได้ครับ หรือถ้าหาก ถึงขั้นขับรถพุ่งเข้าชนสิงกีดขวางแล้วขับหลบหนีไป อาจจะมี ความผิดหนักหนากว่าการผิดกฎจราจรธรรมดา เพราะถือว่า ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน อาจต้องโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตอนที่ 38 ถูกจราจรจับ 3
โดยปกติเมื่อเจ้าพนักงานจราจรพบเห็นรถที่มีสภาพ ไม่ถูกต้อง เช่น มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงอาจเป็นอันตราย หรือผู้ขับขี่หรือผู้ที่อยู่ในรถไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรเซ่นขับรถ โดยไม่คาดเข็มขัดนิรภัยไม่สวมใส่หมวกภันน็อคขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดตำรวจจราจรก็มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่ หยุดรถหรือหากเป็นกรณีที่ดูท่าแล้วว่าเมาแล้วขับเซ่น ขับรถส่ายไปมาหลับคาไฟแดงเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจสั่งให้ ผู้ขับขี่ทดสอบว่าหย่อนความลามารถในการขับขี่จริงหรือไม่ เเช่น เป่าเครื่องตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ใด้ แต่ถ้าผู้ขับขี่ ยังไม่ยอมทดสอบ ตำรวจก็สามารถกักตัวไว้เพื่อให้ทดสอบได้ และเมื่อยอมทดสอบแล้ว ถ้าไม่ผิดก็ต้องปล่อยตัวไป ถ้าผิด ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไปตอนที่ 39 ถูกจราจรจับ 4
เมื่อพบด่านตรวจ หรือเจ้าพนักงานจราจรเรียกให้หยุดรถ เราในฐานะพลเมืองดี ก็ควรจะปฏิบัติตามนั้น โดยตำรวจ จราจรก็จะเข้ามาแจ้งเหตุทีขอให้หยุดรถ ซึ่งก็อาจเป็นการ ขอตรวจค้นตามปกติหรืออาจแจ้งข้อหา,กรณีที่เราฝ่าฝืน กฎจราจร และขอตรวจดูใบอนุญาตขับขี่ตรงจุดนี่เองครับที่มี บัญหาเป็นประจำ เช่น ผู้ขับขี่บางคนโต้เถียงยืนยันว่าตนเอง ไม่ผิด บางคนบ่ายเบี่ยงไม่ยอมส่งมอบใบอนุญาตขับขี่ ทั้งๆ ที่มีและพกพามาด้วย หรือบางคนพยายามติดสินบนตำรวจ เพราะคิดว่าจ่ายตรงนี้แค่ร้อยเดียวไม่ต้องเสียเวลา แต่ถ้า ต้องไปโรงพักอย่างน้อย ๆ ก็สี่ร้อยและต้องเสียเวลาไปรอ และบางครั้งจราจรบางคนเองก็เป็นปัญหาเรียกเอาเงินจาก ผู้ขับขี่ตอนที่ 40 ถูกจราจรจับ 5
เมื่อถูกตำรวจจราจรเรียกให้หยุดรถ แจ้งข้อหาเซ่น ขับรถฝ่าไฟแดง จอดรถในที่ห้ามจอดหรือในทางคับขัน กลับรถ โดยที่ไม่มีป้ายอนุญาตให้กลับรถขับรถสวนทางวันเวย์ หรือแซงทั้ง ๆ ที่ผิวถนนตีเส้นทึบห้ามแซง ผู้ขับขี่หลาย ๆ คนที่ เจอข้อหาเหล่านี้ บางคนมักจะไม่ยอมรับผิดชอบอ้างว่า ไม่รู้บ้างไม่เห็นป้ายบ้าง ซึ่งบางครั้งก็เป็นความบกพร่องของ ทางการที่เครื่องหมายสัญญาณต่างๆ ไม่ชัดเจน แต่บางครั้ง ก็เป็นนิสัยของคน ที่ไม่มียอมรับผิด และที่หนักกว่านั้นก็คือ พวกที่ชอบเบ่ง อ้างเส้นสาย เรื่องทำนองนี้น่าเห็นใจเจ้าหน้าที่ และเช่นเดียวกันบางครั้งเจ้าหน้าที่บางคนก็หาเรื่องตั้งข้อหา เพื่อหาเงิน ปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะน้อยลงหากเรานำกล้อง โทรทัศน์มาใช้บันทึกภาพจราจรให้มากขึ้น
ที่มา หนังสือ กฎหมายสามัญประจำบ้าน
โดย กระทรวงยุติธรรม มีนาคม 2552
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น