1.คำแนะน่าในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ
1.17 การประกันตัวผู้ต้องหา
1) การปฏิบัติ
- (1) ให้ผู้ที่มาขอประกันตัวผู้ต้องหา ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของคดีหรือไม่ก็ตาม
- (2) หากไม่อาจเขียนคำร้องประกัน ได้เองให้ร้องขอต่อพนักงานสอบสวน เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ช่วยเขียนคำร้องให้ไดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
- (3) เมื่อรับคำร้องแล้ว ให้ขอ หลักฐานการรับสัญญาประกันที่ลงเวลารับคำร้อง ไว้ด้วย
- (4) พนักงานสอบสวนจะแจ้งผล การส่งคำร้องให้เสร็จภายใน24ชั้วโมงนับแต่เวลาที่ รับคำร้อง
- (5) หากไม่ได้รับความสะดวก หรือล่าช้าใหรีบเข้าพบหรือแจ้งต่อสารวัตร สารวัตรหัวหน้างานคนใดคนหนึ่ง หรือหัวหน้าสถานีตำรวจ นั้นให้ทราบทันที การประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมตัว อยู่ในขั้นสอบสวน ควรมีหลักฐานดั้งนี้
(2) หลักทรัพย์ที่จะใช้เป็นหลักประกัน ได้แก่
- เงินสด (เงินตราของรัฐบาลไทยเท่านั้น)
- โฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดิน ได้ประเมินราคาแล้วหรือพนักงานสอบสวนเชื่อว่าที่ ดินมีราคาไม่น้อยกว่าสองเท่าของจำนวนเงินที่ ระบุไว้ในสัญญาประกัน
- หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.ร ก) ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาแล้ว หรือพนักงานสอบสวนเชื่อว่าที่ดินมีราคา ไม่น้อยกว่าสองเท่าของจำนวนเงินที่ระบุไว่ใน สัญญาประกัน
- พันธบัตรรัฐบาล
- สลากออมสินหรือสมุดฝากเงิน ธนาคารประเภทฝากประจำ
- ใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร
- ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย และธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว
- ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็น ผู้ออกตั๋ว
- เช็คที่ธนาคารเป็นผู้ส่งจ่ายหรือรับรอง
- หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อ ชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีที่ผิดสัญญาประกันในกรณีที่ผู้ยื่นขอประกันมีครอบครัว แล้ว จะต้องทำหนังสือแสดงการอนุญาตจากสามี หรือภรรยาแล้วแต่กรณีไปด้วย
2) การใช้บุคคลเป็นประกัน ผู้ขอประกัน
1. ผู้ฃอประกันเป็นบุคคลธรรมดา1.1 ผู้ฃอประกันต้องเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าทีการงานหรือมีรายได้แน่นอน และ
1.2 เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหา หรือ
1.3 เป็นบุคคลทีเห็นว่ามีความ สัมพันธ์ใกล้ชิด เสมือนเป็นญาติพี่ น้องหรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที เห็นสมควรให้ประกันได้ วงเงินสัญญาประกัน - ให้พิจารณาจากเงินเดือน หรือรายได้โดยให้ทำสัญญาไม่เกิน 10 เท่า ของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ผู้ขอประกัน
2. ผู้ฃอประกันเป็นนิติบุคคล
- กรณีผู้ต้องหาเป็นกรรมการ ผู้แทน ตัวแทน หุ้นส่วนพนักงาน ลูกจ้าง ของนิติบุคคล วงเงินสัญญาประกัน - ตาม ที่ เห็นสมควรเป็นกรณีๆ ไป ผู้ขอประกัน
3. ผู้ขอประกันเป็นส่วนราชการ
วงเงินสัญญาประกัน - ตาม ที่ เห็นสมควรเป็นกรณีๆ ไป ผู้ขอประกัน
4. ผู้ต้องหาทำสัญญาประกันตนเอง
4.1 ผู้ต้องหาต้องเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าทีการงานหรือมีรายได้แน่นอน
4.2 ผู้ต้องหาเป็นพนักงานหรือ ผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์เภสัชกร พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ทนายความ ผ้สอบบัญชี ครู ผ้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อมวลชน หรือผู้ประกอบวิชาชีพอี่นที่เห็นสมควรให้ประกันได้ และการกระทำทีถูกกล่าวหาว่าเป็นความผิดเกิดจากการปฏิบัติหน้าทีหรือการปฏิบัติงานในการประกอบวิชาชีพนั้น วงเงินสัญญาประกัน
- ให้พิจารณาจากเงินเดือน หรือรายได้ใดยให้ทำสัญญาไม่เกิน10 เท่า ของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ย
- ให้พิจารณาจากเงินเดือน หรือรายได้โดยให้ทำสัญญาไม่เกิน 15 เท่า ของ อัตราเงินเดือน หรือรายได้เฉลียต่อเดือน
3) การพิจารณาการให้ประกันตัว ผู้ตัองหา
(1) การพิจารณาการให้ประกันตัว ผู้ต้องหา เป็นดุลยพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจที่ จะให้ประกันหรือไม่ให้ประกันก็ได้โดยจะพิจารณาถึง- ความหนักเบาแห่งข้อหา
- พยานหกักฐานที่สอบสวนไปแล้วมีเพียงใด พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างใด
- เชื่อถือผู้ร้องขอประกัน หรือหลักประกันได้เพียงใด
- ภัยอันตรายหรือความ เสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยต้วชั่วคราวมีเพียงใด หรือไม่ผู้ต้องหาน่าจะหลบหนีหรือไม่
(2) หากเจ้าพนักงานตำรวจ พิจารณาอนุญาตให้ประกันตัวไปได้ ก็จะนำสัญญา ประกันลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน และยึด หลักทรัพย์หรือเงินเท่าที่ท่านยื่นประกันไว้โดยออก ใบสำอัญแสดงการรับไว้ให้ด้วย แล้วผู้ต้องหาจะได้ รับการปล่อยตัวชั่วคราวไป
(3) หากเจ้าพนักงานตำรวจไม่อนุญาตให้ประกัน อันสีบเนื่องจากเหตุในข้อ (1) ก็ จะแจ้งให้นายประกันทราบและคืนหลักทรัพย์หรือเงิน ที่ท่านยื่นประกันไว้
Download Click!!!
ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น