3.การป้องกันอาชญากรรม
...3.1การป้องกันการกักทรัพย์ในที่พักอาศัย
(1)ก่อนออกจากบ้าน-ควรมีคนไว้วางใจอยู่ดูแลที่พัก อาศัย ตรวจตราลงกลอนประตู หน้าต่าง ใส่กุญแจ ให้เรียบร้อย
-ถ้าติดสัญญาณเตือนศัย ควร เลือกใช้สัญญาณไซเรนเพื่อให้เสียงดังและเพื่อนบ้าน ใกล้เคียงทราบจะได้ช่วยโทรแจ้งเหตุได้
-ควรเปิดไฟทิ้งไว้บางห้อง
(2)ก่อนเปิดประตูบ้าน
-ก่อนเปิดประตูบ้านรับแขก ควร ดูให้ทราบแน่ชัดว่าเป็นผู้ใดหรือคล้องโซ่ไว้ก่อน เปิดประตู
-ไม่เปิดประตูรับคนแปลกหน้า เข้ามาในบ้าน ถ้าจำเป็นพยายามจดจำตำหนิ รูปพรรณ หรือจดทะเบียนยานพาหนะผู้นั้นไว้
-ตรวจสอบบ้ตรประจำตัวช่างซ่อม หรือตัวแทนบริบัทต่างๆที่จะเข้ามาในบ้าน
(3)นอนหลับตอนกลางคืน
-เมื่อพลบค่ำควรรูดม่านปิด ไม่ให้คนนอกมองเห็นด้านใน
-เวลากลางคืน เมื่อมีคนอยู่บ้าน ไม่ควรเปิดไฟทิ้งไว้ในบ้าน เพราะคนร้ายจะมอง เห็นทรัพย์สิน ควรเปิดไฟนอกบ้านหรือรอบบ้าน
(4)การจ้างคนรับใช้
-การจ้างคนงาน คนรับใช้ควรทำ ประวัติส่วนตํวที่อยู่ ญาติพี่น้องและมีสำเนาบ้ตร ประจำตํวประชาชนไว้
-ควรเล่ากลอุบายต่างๆ ของ คนร้ายให้คนในบ้านทราบ เพื่อเป็นตัวอย่าง ไม่ไห้ หลงกล
(5)ข้อควรปฏิบ้ติเสมอเป็นกิจวัตร
-ที่ว่างเปล่าที่ติดอยู่กับที่พักอาศัย ไม่ควรปล่อยให้ต้นไม้ขึ้นสูง เพราะคนร้ายอาจใช้ เป็นแหล่งกำบังลักทรัพย์หรือหลบหนี
-บริเวณบ้านควรทำรั้วสูง และ แข็งแรง หากติดกรงเหล็กดัดต้องเผื่อช่องสำหรับ หลบหนี เมื่อเกิดเพลิงไหม้
-ควรผูกมิตรกับเพื่อนบ้าน เมื่อมี เหตุเภทภัยจะได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น สามารถฝากเพื่อนบ้านช่วยดูแลบ้าน
-เลี้ยงสุนัขหรือสัตว์อื่นที่ส่งเสียงดัง เพื่อช่วยเตือนภัย
-ไม่ควรเก็บทรัพย์สินมีค่า หรือ เงินสดจำนวนมากไว่ในบ้าน
-จดจำรายละเอียดบันทึกทรัพย์สิน มีค่าและถ่ายรูปเก็บไว้
-ถ้ามีโทรศัพท์ซักถามว่ามีคนอยู่ บ้านหรือไม่ ให้ตอบว่าอยู่กันหลายคน
-ร่วมกันจัดระบบความปลอดภัย ในชุมชนที่ตนอยู่ เช่น จัดเวรยาม เป็นต้น
(6)เมื่อเกิดเหตุร้าย
-ถ้ามีคนร้ายบุกรุก อย่าพยายาม จับคนร้ายด้วยตนเอง ควรตะโกนขอความช่วยเหลือ จากผู้อื่นหรือโทรแจ้งความ 191
Download Click!!!
ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น