วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558

การฟ้องคดีต่อศาลปกครอง


6.ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป

...



6.1 การฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

- คดีที่จะฟ้องต่อศาลปกครอง ได้แก่ คดีพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครอง หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงาน ทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน กัน เนื่องมาจากการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การละเลยต่อ หน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร การ กระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นกันเกิดจาก การใช้อำนาจตามกฎหมาย กฎคำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น การละเลยหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ ล่าช้า และสัญญาทางปกครอง เป็นด้น

- ระยะเวลาในการฟ้องคดีปกครอง การฟ้องคดีปกครองจะต้องฟ้องภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุการณ์ฟ้อง คดีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือร้องขอให้หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมาย กำหนดและไม่ได้รับหนังสือชี้แจง หรือได้รับแต่ เป็นคำชี้แจงที่ไม่มีเหตุผล

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายจราจร

5.ความรู้เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย

...


5.4 ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายจราจร
1) เครื่องหมายและกัญญาณจราจร


















Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

ความรู้เกี่ยวกับรถที่นำมาใช้

5.ความรู้เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย

...


5.3 ความรู้เกี่ยวกับรถที่นำมาใช้ 

1) อย่านำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง ซึ่งอาจเกิดภันตรายหรืออาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพ อนามัยแก่ผู้ใช้ คนโดยสารหรือประชาชนมาใช้ไน ทางเดินรถ เช่น รถตัวถังผุๆ พังๆ ยางล้อรถไม่มี ดอกยาง ควันดำ ฯลฯ

2) รถที่นำมาใช้ต้องมีโคมไฟ หน้า - หลัง ไฟเลี้ยว - ไฟจอด - ไฟเบรก - ไฟฉุกเฉิน - แตร - เบรกและเบรกมือที่ใช้การได้ - ที่ปัดนํ้าฝน ครบ ถูกต้องตามกฎหมาย

3) รถที่นำมาใช้ต้องติดแผ่นป้าย ทะเบียนหน้า - หลง (มีไฟส่องป้ายทะเบียนหลง) และติดป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีไว้ด้วย

4) รถที่บรรทุกของยื่นเกินความยาว ของตัวรถในเวลากลางวันต้องติดธงสีแดง เวลา กลางคืนต้องติดโคมสีแดงไว้ที่ตอนปลายสุดของ สิ่งบรรทุกนั้น ให้สามารถมองเห็นไต้ไนระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร

5) ผู้ขับรถบรรทุกสัตว์และสิ่งของ ต้องจัดให้มีผ้าใบคลุมป้องกันไม่ให้สัตว์หรือสิ่งของที่ บรรทุกตกหล่นรั่วไหลส่งกลิ่น หรือปลิวไปจากรถ อันก่อให้เกิดสันตราย หรือความเดือดร้อน รำคาญ แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนหรือทำให้ถนนสกปรกเปรอะเปี้อน อันอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

ความรู้เกี่ยวกับการเดินถนน การขัาม ถนน การขึ้นลงรถประจำทางอย่างปลอดภัย

5.ความรู้เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย

...


5.2 ความรู้เกี่ยวกับการเดินถนน การขัาม ถนน การขึ้นลงรถประจำทางอย่างปลอดภัย 

1) การเดินถนน 
(1) ถนนที่มีทางเท้าขัดไว้ ให้เดิน บนทางเท้า และอย่าเดินใกล้ทางรถ โดยหันหลังให้ รถที่กำขังแล่นมา ก่อนที่จะก้าวไปในทางรถต้อง มองซ้าย - ขวาก่อนเสมอ
(2) ถนนที่ไม่มีทางเท้า ให้เดินชิด ริมทางขวาของถนน อย่าเดินคู่กันให้เดินเรียงเดี่ยวตามกันไป
(3) ถ้าจูงเด็ก ให้เด็กเดินด้านใน และจับมือเด็กไว้ให้มั่น เพื่อป้องกันเด็กวิ่งออกไป ในทางรถ
(4) การเดินถนนในที่มืด ควร สวมเสื้อขาวและถ้าถือไฟฉายส่องติดมือไปด้วยก็ จะปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
(5) แถวหรือขบวนทหาร ตำรวจ ลูกเสือหรือนกเรียนที่มีผู้บังคับบัญชาควบคุมเดิน อย่างเป็นระเบียบ จะเดินบนทางรถยนต์ก็ได้โดย เดินชิดทางรถด้านขวาหรือด้านซ้ายตามความจำเป็น

2) การข้ามถนน 
(1) ก่อนข้ามถนนทุกครั้ง ต้อง หยุดเดินที่ขอบถนน มองขวาซ้าย แล้วมองขวา ให้ แน่ใจว่าไม่มีรถกำลังแล่นมาจึงข้ามได้ แล้วใหรีบ ข้ามถนนไปเป็นเส้นตรง และให้เดินอย่างรวดเร็ว อย่าวิ่งข้ามถนน
(2) ถ้าบริเวณที่จะข้ามถนนมีช่อง ที่ข้าม (ทางม้าลาย) หรือสะพานลอยต้องข้ามตรง ช่องทางข้ามจะปลอดภัยที่สุด
(3) อย่าข้ามถนนโดยออกจากที่ กำบังตัว เช่น ออกจากซอย รถที่จอดอยู่ หรือท้าย รถประจำทางเพราะจะเกิดอันตรายขึ้นได้
(4) การข้ามถนนที่รถเดินทางเดียว ต้องหยุดให้แน่ใจเสียก่อนว่ารถแล่นมาจากไหน และ มีความปลอดภัยพอหรือยิง จึงข้ามไต้
(5) ถนนที่มีเกาะกลางถนนต้อง ข้ามทีละครึ่งถนน ใดยข้ามครั้งแรกไปพกที่เกาะ กลางถนนเสียก่อน จึงข้ามในครึ่งหลังต่อไป  ในเวลากลางคืนควรไปหาที่ ข้ามที่มีแสงสว่าง

3) ช่องข้ามทางหรือทางม้าลาย 
(1) คนเดินเท้าที่กำลังเดินข้าม ถนนในทางม้าลายมีสิทธิไปก่อนรถ เพราะตาม กฎหมายต้องหยุดให้คนข้ามถนนในทางข้าม แต่ จะต้องระวังให้โอกาสแก่รถที่ชะลอความเร็วและ หยุดไม่กันก่อนที่จะก้าวลงไปยังพื้นถนน ยิ่งเวลา ฝนตกถนนลื่นต้องระวังให้มาก
(2) ถึงแม้ว่าคนข้บรถจะหยุดให้ ข้ามต้องข้ามด้วยความระม้ดระวัง มองขวา - ซ้าย ตลอดเวลา เพราะอาจมีผู้ข้บขี่บ้าบิ่นแซงรถที่หยุด รถอยู่ขึ้นมาก็ได้ และการข้ามถนนต้องรวดเร็วอย่า เดินลอยชาย
(3) การข้ามถนนในช่องทางข้าม ที่บริเวณทางแยกให้ระวังรถที่จะเลี้ยวเข้ามาหาตัวท่านด้วย
(4) ถ้ามีเกาะกลางถนนทำไว้ที่ทางม้าลาย ให้ข้ามถนนไปทีละครึ่งถนนโดยพักรออยู่ บนเกาะมองขวา - ซ้าย ปลอดภัยแล้วจึงข้ามไป
(5) ถ้าท่านกำลังข้ามถนนอยู่ เห็น รูปคนสีเขียวกะพริบขึ้นที่สัญญาณไฟ ให้รีบข้าม ถนนโดยเร็ว และอย่าเริ่มก้าวข้ามถนน เมื่อเห็นรูป คนสีเขียวกะพริบที่สัญญาณไฟเป็นอันขาด เพราะ จะข้ามถนนไปไม่ตลอด และอาจเกิดอุบัติเหตุได้

4) ทางข้ามที่มีตำรวจจราจรควบคุม อย่าข้ามถนนเมื่อตำรวจกำลังปล่อย รถเดินอยู่หรือเมื่อตำรวจให้สัญญาณห้ามคนเดินเท้า อยู่

5) การข้ามถนนบนสะพานลอย ถ้ามีสะพายลอยข้ามถนนสำหรับ คนข้าม ให้ใช้สะพานลอย จะปลอดภัยกว่า

6) การขึ้นลงรถประจำทางอย่าง ปลอดภัย อย่าขึ้นหรือลงรถประจำทาง จนกว่า รถจะหยุดสนิทที่ป้ายหยุดรถประจำทาง เมื่อลง จากรถประจำทางแล้ว จะข้ามถนนควรรอให้รถ ออกไปให้พ้นเสียก่อน จะได้มองเห็นรถอื่นๆ ที่ แล่นเข้ามาได้อย่างชัดเจนและปลอดภัย

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

ท่านจะขับรถให้ปลอดภัยได้อย่างไร?

5.ความรู้เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย

...


5.1 ท่านจะขับรถให้ปลอดภัยได้อย่างไร? 

การขับรถโดยปลอดภัยขึ้นอยู่ภับความรู้ 5 ประการ หรือหลัก “5 ร” 

1) รอบรู้เรื่อง “รถ”
2) รอบรู้รื่อง “ทาง”
3) รอบรู้รื่อง “วิธีการขับรถ”
4) รอบรู้รื่อง “กฎจราจร”
5) รอบรู้รื่อง “มารยาท”

1) รอบรู้เรื่องรถ เช่น ไฟหน้า ไฟ ท้ายไฟเลี้ยว และไฟเบรก
2) รอบรู้เรื่องทาง ทางแต่ละสายย่อมแตกต่างก้นโดย สภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม ล้าเป็นเส้น ทางไม่เคยไปควรศึกษาจากแผนที่คู่มือการท่องเที่ยว ถามผู้รู้หรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เช่น กรมทางหลวง ตำรวจทางหลวง ตำรวจท้องที่ ฯลฯ ที่สำคัญที่สุด ท่านจะต้องสังเกตและปฏิบัติตามป้ายและ เครื่องหมายจราจร
3) รอบรู้เรื่องวิธีขับรถ การขับรถเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ขับรถ เป็นอย่างเดียวไม่พอต้องรู้วิธีแก้ไขฟ้ญหาเฉพาะหน้า ได้โดยฉับพฉันและสามารถหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยมิได้คาดคิดเนื่องจากขาดความชำนาญ เช่น เบรกแตกจะทำอย่างไร ฯลฯ?
4) รอบรู้เรื่องกฎจราจร กฎจราจรมีไว้เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนน ประพฤติปฏิปัติไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อความ ปลอดภัยและความสะดวกรวดเร็ว
5) รอบรู้เรื่องมารยาท 
- คนขับรถควรที่มีน้ำใจให้แก่กัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน
- การขับรถให้ถูกกฎหมาย ใดย ไม่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรการ  3 ม. 2 ข. 1 ร. ดังนี้
3 ม. 
1. ขับขี่รถขักรยานยนต์ ใดยไม่สวมหมวกนิรกัย
2. ขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่มีอุปกรณ์ส่วนควบไม่ถูกต้อง และครบถ้วนตาม ที่กฎหมายกำหนดกันอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ
3. ขับรถขณะเมาสุรา

2 ข. 
1.ขับรถยนต์ไม่คาด เข็มขัดนิรกัย
2. ขับรถโดยไม่มีใบ อนุญาตขับขี่

1 ร. 
ขับรถด้วยความเร็วเกิน กว่าที่กฎหมายกำหนด



Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

การปฏิบัติเมื่อได้รับการแจ้งเตือนภัย จากคลื่นสึนามิ


4.การเตรียมตัวให้รอดปลอดภัยพิบัติ

...



4.4 การปฏิบัติเมื่อได้รับการแจ้งเตือนภัย จากคลื่นสึนามิ

1) เปิดวิทยุหรือโทรทัศน์เอาไว้เพื่อ ติดตามข่าวสารความคืบหน้าของสถานการณ์
2) อพยพออกจากชายฝังทะเลทันที (ถ้าเป็นไปได้)
 3) อพยพไปสู่พื้นที่สูงหรืออพยพไปสู่ ชั้นบนของอาคารที่มั่นคงแข็งแรง
4) คอยจนกระทั่งมีคำสั่งหรือข้อแนะนำ ว่าท้องทะเลปราศจากคลื่นสึนามิแล้วจึงกลับ ไป ชายหาดหรือกลับบ้าน

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554
กลับหน้าหลัก

การปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินถล่มและ โคลนถล่ม


4.การเตรียมตัวให้รอดปลอดภัยพิบัติ

...



4.3 การปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินถล่มและ โคลนถล่ม

1) เข้าที่กำบัง เช่น ใต้โต๊ะหรือ เฟอร์นิเจอร์ที่แข็งแรง
2) ถ้าเป็นบ้านหลายชั้นให้หลบในที่ กำบังชั้นบน
3) วิ่งไปบังพื้นที่สูงที่อยู่ใกล้ต้วท่าน ที่สุดซึ่งอยู่นอกแนวการไหลของแผ่นดินถล่ม
4) ถ้าท่อนซุงหรือก้อนหินหรือเศษ วัสดุไหลเข้ามาใกล้ด้วท่านจงวิ่งหาที่หลบภัยที่อยู่ ใกล้ต้วท่านที่สุด เช่น กลุ่มต้นไม้ยืนต้น อาคาร เป็นต้น
5) ถ้าสุดวิสัยที่จะหนี จงเตรียมหาวิธี หาต้วรอดและป้องกันศีรษะของท่านก่อน

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

การปฏิบัติเมื่อเกิดพายุ


4.การเตรียมตัวให้รอดปลอดภัยพิบัติ

...



4.2 การปฏิบัติเมื่อเกิดพายุ

1) จงปิดเตาขณะทำอาหารเมื่อไฟฟ้าดับและปิดอุปกรณ์และปิดแก๊สทุกชนิด
2) ถ้าท่านอยู่ในบ้านหรืออาคาร จงเคลื่อนตัวให้ห่างหน้าต่างหรือวัตถุอื่นๆ ที่อาจ หล่นมาโดนท่านและจงไปอยู่ที่ชั้นล่างของบ้าน หรืออาคารและห่างจากหน้าต่าง
3) ถ้าท่านอยู่นอกบ้าน จงเข้าไปอยู่ใน บ้านหรืออาคาร จงหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สายไฟฟ้า ที่ขาด เสาไฟฟ้าและต้นไม้
4) ถ้าท่านกำลังข้บขี่ จงจอดรถและ หยุดในบริเวณที่ห่างจากต้นไม้ ถ้าเป็นไปได้จงวิ่ง เข้าไปอยู่ในอาคารที่ปลอดถ้ย จงอยู่ห่างจาก สะพานลอย เสาไฟฟ้าและสิ่งอันตรายอื่น ๆ
5) จงรับฟังข่าวสารทางวิทยุเพื่อที่จะ ได้ปฏิบ้ติตามข้อแนะนำ



Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554
กลับหน้าหลัก

การปฏิบัติเมื่อเกิดนํ้าท่วม

4.การเตรียมตัวให้รอดปลอดภัยพิบัติ

...



4.1 การปฏิบัติเมื่อเกิดนํ้าท่วม

1) ไม่ควรเดินหรือขับรถผ่านพื้นที่น้ำท่วม
2) จงอยู่ห่างจากบริเวณที่มีนํ้าไหล น้ำที่ไหลเชี่ยวเพียงคืบเดียวสามารถพัดให้ท่านล้มลงได้
3) จงอยู่ห่างจากบริเวณที่เสาไฟฟ้าล้ม
4) ห้ามโยนสิ่งของที่ได้ริบความเสียหาย ทิ้งจนกว่าทางราชการจะมาจดบันทึกข้อมูล
5) ทิ้งอาหารที่สัมผัสกับน้ำท่วม
6) จงบริโภคอาหารและน้ำดื่มที่ สะอาดเท่านั้น
7) จงปิดถังแก๊สทุกครั้งหล่งจากการใช้
8) จงปิดสวิตช์และถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า




Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

การจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคลและ ยานพาหนะ การจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคล


3.การป้องกันอาชญากรรม

...


3.10 การจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคลและ ยานพาหนะ 

1.การจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคล 


1) หลักของการสังเกตจดจำ ตำหนิรูปพรรณ มีติงนี้ 
- สังเกตจดจำสิ่งที่ใหญ่ เห็นง่ายไปสู่สิ่งที่เล็กเห็นยาก
- สังเกตจดจำลักษณะเด่น ตำหนิไปสู่ลักษณะปกติธรรมดา
- พยายามอย่าจดจำทุกสิ่ง ทุกอย่างแต่ให้จดจำบางอย่างที่ท่านจดจำได้อย่าง แม่นยำ
- เมื่อคนร้ายหลบหนีไป แล้วอย่าถามผู้อื่นว่าเห็นอะไร ให้รีบบันทึกตำหนิ รูปพรรณที่ท่านเห็นและจดจำได้ลงในสมุดหรือ กระดาษโดยทันที
- มอบรายละเอียดให้กับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง


 2) สิ่งที่สามารถจำได้ง่ายและ ควรจดจำก่อน 
- เพศเป็นชายหญิงกะเทย
- วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ แก่ ฯลฯ อายุประมาณเท่าใด?
- รูปร่าง สูง เตี้ย อ้วน ผอม
- ผิวเนื้อ ขาว ขาวเหลือง ดำ ซีด เหี่ยวย่น ฯลฯ
- เชื้อชาติ ดูจากใบหน้า เป็นคนไทย จีน ลกครึ่ง แขก ฯลฯ
- รูปหน้า รูปไข่ กลม ยาว เหลี่ยม ฯลฯ
- ผม สั้น หงอก หนา หยิก ติดทรงอะไร หวีอย่างไร ฯลฯ
- ปากกว้าง แคบ ใหญ่ ริม ฝีปากหนา ฯลฯ
- หู กาง ใหญ่ เล็ก ติ่งหูแหลม ฯลฯ
- ตา เล็ก โต พอง โปน ตา ชั้นเดียว สองชั้น ตาเข สวมแว่นตา แว่นกันแดด ฯลฯ? 

3) สิ่งที่เป็นจุดเด่นผิดปกติ ตำหนิ ที่อาจจดจำได้ง่าย 
- ตำหนิ แผลเป็นบนใบหน้า ไฝ ปาน หูด เนื้อติ่ง มืลักษณะอย่างไร อยู่ส่วนไหน ของร่างกาย
- แผลเป็น มีสักษณะอย่างไร ขนาดเท่าใด อยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย
- ลายสัก สักรูปอะไร สีอะไร อยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย
- ความพิการ ตาบอด หูหนวก ใบ้ แขนขาด้วน ลีบ ปากเบี้ยว ฯลฯ
- ท่าทางการเดิน เดินตัวตรง ตัวเอียง ขากะเผลก
- สำเนียงการพูด พูดช้า พูดเร็ว ติดอ่าง สำเนียงเป็นคนไทย จีน ฝรั่ง หรือ สำเนียงคนภาคใด
- การกระทำบ่อยๆ สูบ บุหรี่จัด พูดเอามือปิดปาก ติดยาเสพติด เวลาพูด เอามือล้วงกระเป๋า
- การแต่งกาย จดจำเสื้อ กางเกง เช่น เสือแขนสั้น-ยาว, กางเกงขาสั้น-ยาว ฯลฯ แบบของเสือ กางเกง เช่น ยีนส์ เสือยืด เสือเชิ้ตเครื่องแบบ นักศึกษา สือะไร ลายแบบไหน มีต่วเลขอะไรหรือไม่ รองเท้าที่สวมเป็นชนิดใด สี อะไร แบบใด
- เครื่องประดับ มีเครื่อง ประดับอะไรบ้างที่เห็นได้ชัด เช่น แว่นตา นาฬิกา แหวน สร้อย กระเป๋าถือ ฯลฯ


4) กรณีที่คนร้ายมีการพราง ใบหน้า
เช่น สวมแว่นตาท้นแดด สวม หมวกท้นน็อค สวมหมวก สวมหน้ากาก คลุม ศีรษะด้วยถุง ให้ท่านคอยสังเกตส่วนอื่นๆ ของ ร่างกายที่มีได้พรางและจดจำได้ง่าย การให้รูปพรรณสัณฐานที่ถูกต้องเป็นการช่วยเหลือ ตำรวจในการจับคนร้าย ความสูง ผม (แบบ-สี) รูปหน้า (องค์ประกอบ- แว่น-เครา-หนวด) เสื้อ(แบบ-สี) - ตำหนิ อื่นๆ เชื้อชาติ อายุ รอยสัก รูปร่าง แผลเป็น? 




(2) การสังเกตจดจำยานพาหนะ ของคนร้าย หรือผู้ต้องสงสัย 

1) หลักของการสังเกตจดจำ ยานพาหนะ มีดังนี้ 
- สังเกตจดจำสิ่งที่ใหญ่ เห็นง่าย ไปสู่สิ่งที่เล็กเห็นยาก
- สังเกตจดจำตำหนิ รอยชน สติ๊กเกอร์ จุดเด่นต่าง ๆ
- อย่าจดจำทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ให้จดจำบางสิ่งที่ท่านจำได้อย่างแม่นยำ
- เมื่อคนร้ายหลบหนีไป แล้วอย่าถามผู้อื่นว่าเป็นอย่างไรให็รีบบันทึกลักษณะ เด่นเอาไว้ทันที
- มอบรายละเอียดให้สับ ตำรวจผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง

2) สิ่งที่สามารถจดจำได้ง่ายและ ควรจดจำก่อน 
- ประเภทรถ เป็นรถ จักรยานยนต์ รถเก่งส่วนบุคคล รถยนต์แท็กซี่ สาธารณะ รถบรรทุก รถปิคอัพ รถสามล้อเครื่อง รถจี๊ป ฯลฯ
- สีของรถ เป็นรถสีใด บริเวณใด เป็นสีชนิดธรรมดา ลูไซท์ฯลฯ
- ความเก่า - ใหม่ เป็นรถ ค่อนข้างใหม่หรือเก่า
- ยี่ห้อ เป็นรถยี่ห้อใด รุ่นปี พ.ศ./ค.ศ.ใด (ต้องแกดูและจดจำยี่ห้อต่าง ๆ)
- หมายเลขทะเบียน ดูไต้ จากแผ่นป้ายทะเบียน ให้จดจำทั้งต้วอักษรและ หมายเลข ถ้าเป็นรถต่างจังหวัดให้จดชื่อ จังหวัดไว้ด้วย แผ่นป้ายทะเบียนของรถประเภท ต่างๆ จะแตกต่างก่นไป เช่น รถเก่งส่วนบุคคล แผ่นป้ายจะเป็นพื้นสีขาวต้วเลขและต้วอักษรสีดำ (เป็นป้ายของทางราชการ) ติดข้างหน้า-หลัง รถ แท็กซี่ แผ่นป้ายจะเป็นพื้นสีเหลือง ต้วเลขอักษร สีดำติดข้างหน้า-หลัง แผ่นป้ายรถจักรยานยนต์จะ เป็นพื้นสีขาวตัวเลขอักษรสีตำ ติดข้างหลังเพียง แผ่นเดียว อนึ่ง ในการสังเกตแผ่นป้าย ทะเบียนพยายามสังเกตด้วยว่าเป็นแผ่นป้ายที่ติด ไว้อย่างหลวมหรือติดอย่างแน่นหนา หรือมีการ พรางเลขอักษรของแผ่นป้ายนั้น ๆ หรือไม่ด้วยวิธีใด (ปัจจุบันคนร้ายมักใช้แผ่นป้ายทะเบียนปลอมหรือ มีการพรางหมายเลขทะเบียนและด้วอักษรให้ผิด ไปจากความเป็นจริง)

3) สิ่งที่เป็นตำหนิรอยชนจุดเด่นที่เห็นได้ชัด
 - ตำหนิ เช่น กระจกแตก สีลอก มีรอยเจาะที่ด้วถังของรถ ฯลฯ
- รอยชน รอยยุบ รถมีรอย ถูกชนบริเวณใดมากน้อยอย่างไร มีรอยบุบที่ใด
- จุดเด่น เป็นรถที่แต่งเพื่อ ใช้แข่งขัน มีเสาอากาศ ติดอุปกรณ์พิเศษต่าง ๆ กับ รถ ฯลฯ
- ติดสติ๊กเกอร์บริเวณใด เป็นรูปหรือเครื่องหมาย หรือข้อความว่าอย่างไร ติดฟิล์มกรองแสงทึบมาก-น้อยที่ใด อย่างไร
- แผ่นป้ายที่ติดกับกระจก ด้านหน้า ได้แก่ ป้ายแผ่น ป้ายวงกลมแสดงการ เสียภาษี แผ่นป้ายผ่านเข้า-ออก ของสถานที่ต่างๆ บางครั้งระบุชื่อไว้ที่แผ่นป้าย ถ้าเห็นให้จดจำไว้ด้วย แผ่นป้ายแสดงสิทธิพิเศษต่างๆ เช่น การจอดรถ การประก่นภัย ฯลฯ
- เสียงของเครื่องยนต์ แตร จดจำว่ามีเสียงอย่างไร รถบางประเภทมีเสียง เครื่องยนต์เสียงแตรเฉพาะต์ว เสียงรถแข่ง รถปกติ รถสามล้อรถจํกรยานยนต์ย่อมแตกต่างกันบางครั้ง ไม่เห็นยานพาหนะก็อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็น ยานพาหนะอะไร แต่ต้องอาศัยความชำนาญพอ สมควร

(3) การสังเกตยานพาหนะรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ 

1) รถยนต์ หมายเลขทะเบียน รถประเภทรถเก่า รถกระบะ รถบรรทุก สีรถ สติ๊กเกอร์ ที่ตกแต่ง ยี่ห้อรถ และรุ่น ตำแหน่งป้ายวงกลม ป้ายผ่านเข้าออกสถานที่ส่วนบุคคล ตำแหน่งเสา วิทยุโทรทัศน์ และชนิดไฟท้าย รูปลักษณะะ สิ่งประดับ เช่น สิ่งของที่แขวนหน้ารถ หรือวางหน้ารถ เป็นต้น
2) รถจักรยานยนต์ เลขทะเบียน ประเภทวิบาก ผู้หญิง สีรถ สติ๊กเกอร์ที่ตกแต่ง ยี่ห้อ รุ่น ไฟท้าย ปังโคลน ท่อไอเสีย แบบและเสียง

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

คำแนะน่าเพื่อความปลอดภัยอื่น ๆ


3.การป้องกันอาชญากรรม

...


3.9 คำแนะน่าเพื่อความปลอดภัยอื่น ๆ 

1) ระวังคนแปลกหน้า

  •  (1) อย่ารับของขวัญหรือของฝาก จากคนแปลกหน้า เพราะอาจเป็นสิ่งไม่ดี หรือผิดกฎหมาย
  • (2) ปฏิเสธข้อเสนอของคนแปลก หน้าที่จะให้อาศัยรถใดยสารไปด้วย เพราะ อาจลูกพาไปขายหรือเรียกค่าไถ่หรือประทุษร้ายอื่นๆ 
  • (3) อย่าเข้าไปใกล้รถเพื่อพูดจา กับคนที่อยู่ในรถ เพราะอาจถูกจับทัวไป 
  • (4) หลีกเลี่ยงการพูดกับคน แปลกหน้าเพราะอาจถูกล่อลวงไปในทางที่ไม่ดี 
  • (5) บอกครู หรือผู้ปกครองทนที เมื่อมีคนแปลกหน้ามาติดต่อ 
  • (6) จดจำตำหนิรูปพรรณการ แต่งกายและจดหมายเลขทะเบียนรถของคนแปลกหน้า ที่เข้ามาติดต่อ 


2) หลงทางควรทำอย่างไร

  • (1) แจ้งตำรวจโดยทันทีพร้อม บอกชื่อสกุลของตนเองและผู้ปกครอง 
  • (2) จดจำบ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด หรือหมายเลขโทรศัพท์บ้านของเรา หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือผู้ปกครอง ถ้าจำไม่ได้ควรจดเก็บไว้ในกระเป๋า หรือให้ผู้ปกครองจดไว้
  • (3) หาโทรศัพท์ไกล้ๆ หมุนเลข 191 ติดต่อตำรวจทันที 
  • (4) อย่าบอกแก่คนแปลกหน้าว่า ท่านกำลังหลงทาง 
  • (5) เมื่อพบตำรวจจึงขอความ ช่วยเหลือจากเขา? 


3) ความปลอดภัยในบ้าน 

  • (1) เชื่อฟังคำสอนของผู้ปกครอง 
  • (2) จงเก็บของเล่นที่เลิกเล่นแล้ว ให้เรียบร้อย 
  • (3) อย่าเล่นกับสิ่งมีคม เช่น มีด เศษแก้วแตก กระเบื้อง เพราะอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ 
  • (4) อย่าจุดไม้ขีดไฟเผากระดาษ หรือสิ่งอื่นใดเพราะอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้
  • (5) อย่าวิ่งเล่นขึ้นๆ ลงๆ บน บันได เพราะอาจพลาดตกลงมาบาดเจ็บ 
  • (6) อย่าเล่นขว้างปาก้อนหิน ไม้ หรือของหนัก เพราะอาจทำให้สิ่งของเสียหาย 
  • (7) เล่นกับสัตว์ต้องระว้ง อย่าให้ มันใกรธ เพราะมันจะทำอันตรายเราได้ 
  • (8) ควรบอกให้ผู้ปกครองทราบ ทุกครั้งว่าจะไปเล่นอยู่ที่ใด กับใคร


Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

การป้องกันแก๊งมิจฉาชีพในรูปแบบ ต่าง ๆ

3.การป้องกันอาชญากรรม

...


3.8 การป้องกันแก๊งมิจฉาชีพในรูปแบบ ต่าง ๆ 

1) แก๊งของขวัญปีใหม่ คนร้ายออกสำรวจตามบ้านที่ เจ้าของบ้านไม่อยู่ มีเพียงคนรับใช้ เด็ก ผู้หญิง ผู้สูงอายุ อยู่ในบ้าน คนร้ายจะแอบอ้างว่ามีคนใช้ ให้มาส่งของขรัญที่บ้านแต่ของขรัญกังกล่าวชิ้นใหญ่ หรือมีนํ้าหนักมากขอให้คนในบ้านช่วยเปีดประตู เพื่อจะทำการยกของเข้าไปในบ้าน เมื่อคนในบ้าน เผลอคนร้ายจะทำการรื้อค้นของมีคำแล้วหลบหนีไป หรือบางกรณีคนร้ายจะทำการปล้นทรัพย์ หรือชิง ทรัพย์

2) แก๊งสารพัดช่าง คนร้ายออกสำรวจตามบ้านที่เจ้าบ้าน ไม่อยู่ มีแต่เพียงคนรับใช้ เด็ก ผู้หญิง ผู้สูงอายุ อยู่ ในบ้าน คนร้ายจะแอบอ้างว่าชื่อเจ้าของบ้านว่าได้ สงให้ช่างมาทำการซ่อม แอร์ นํ้าประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ที่บ้าน โดยใช้คำพูดที่ทำให้คนในบ้าน เชื่อถือยอมให้เข้ามาในบ้าน จากนั้นคนร้ายจะทำที ไปซ่อมสิ่งต่าง ๆ ตามที่ได้แอบอ้างโดยหลอกให้ คนในบ้านไปดูแผงควบคุมไฟฟ้าในบ้าน หรือวาล์ว เปิด - ปิดน้ำ เมื่อคนในบ้านเผลอคนร้ายจะทำการ รื้อค้นของมีค่าแล้วหลบหนีไป หรือบางกรณี ถ้าคนร้ายเข้ามาในบ้านได้แล้วจะทำการชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์

3) แก๊งขายสินค้าราคาถูก คนร้ายข้บรถปิคอัพตระเวนขาย สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าของใช้ประจำวัน เครื่อง บริโภคต่างๆ ไปตามหมู่บ้านที่มีเพียงเด็ก ผู้หญิง ผู้สูงอายุ อยู่บ้าน โดยโฆษณาชวนเชื่อว่าช่วงนี้เป็น ช่วงเทศกาลปีใหม่ ได้มาบริการจำหน่ายสินค้าที่มี คุณภาพ และราคาถูกให้รับชาวบ้าน หรือหาก บ้านใดซื้อสินค้าที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า 1 ชิ้น ซึ่งใน ความเป็นจริงสินค้าที่นำมาจำหน่ายนั้นเป็นสินค้า ที่ไม่มีคุณภาพ หรือหมดอายุ หากเป็นสินค้า ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้แล้วอาจเกิดอันตราย ทำให้ไฟฟ้ารัดวงจรได้

4) แก๊งเรี่ยไรทำบุญ 
- คนร้ายออกตระเวนเดินเรี่ยไรรับ บริจาคเงิน โดยใช้ขันพร้อมใบอนุโมทนาบุญมา แอบอ้างหลอกลวงประชาชนตามบ้าน ตลาด ชุมชนต่างๆ ให้ร่วมกินทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี
- คนร้ายแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ ของมูลนิธิออกตระเวนเรี่ยไรตามบ้าน ตลาด ชุมชน ต่างๆ ให้ร่วมกินบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ยากไร้ หรือ ทหารที่ใต้รับบาดเจ็บจากการปฎิมัติหน้าที่ ที่มี การนำรูปภาพ หรือรูปปั้น ซึ่งอ้างว่าผ่านการปลุกเสก แล้วมาให้เช่า หากมีผู้สนใจขอดูแล้วไม่เช่าคนร้าย จะทำการข่มขู่บังคับให้ชื้อ

5) แก๊งจัดงานเลี้ยง คนร้ายมีพฤติกรรมการกระทำ ความผิด
2 รูปแบบ คือ
1) คนร้ายแอบอ้างว่าจะจัดงานเลี้ยง โดยติดต่อร้านค้าต่าง ๆ ให้ส่งของสดไว้ที่สถานที่ จะจัดงานเลี้ยง พร้อมกับอ้างว่าจะนำเงินไปจ่ายให้ ภายหลัง เมื่อทางร้านค้าส่งของยังที่นัดหมายแล้ว คนร้ายจะไปขนของแล้วหลบหนีไป บางกรณี คนร้ายจ่ายเงินมัดจำให้นับทางร้านค้าในรูปของ เช็คเงินสดซึ่งเช็คดังกล่าวไม่มีเงินในธนาคารแต่ อย่างใด

2) คนร้ายแอบอ้างกับผู้ที่ต้องการ จะนัดงานเลี้ยงว่ารู้จักกับทางเจ้าของร้านอาหารต่างๆ เป็นจำนวนมาก และสามารถส่งอาหารได้ในราคาถูก ทำให้เจ้าของงานหลงเชื่อยอมจ่ายเงินค่าอาหาร ให้กับนายหน้าเพื่อไปจ่ายเงินให้กับทางร้านอาหาร แต่ปรากฏว่าเมื่องานเลี้ยงเสร็จสิ้นแล้วเจ้าของร้าน อาหารไม่ได้รับเงินแต่อย่างใด

6) แก๊งล้วง/กรีดกระเป๋า คนร้ายมีพฤติกรรมการกระทำ ความผิด 2 รูปแบบ คือ
 1) การลักทรัพย์บนรถไฟ รถโดยสารประจำทาง โดยอาศัยช่วงที่ผู้โดยสาร หลับแล้วลงมือกรีดกระเป๋าหรือยกเอาไปดื้อๆ
2) ช่วงเวลาลงมือตั้งแต่ตีห้าไป จนถึงประมาณเจ็ดโมงเช้า อีกรอบตั้งแต่สี่โมงเย็น เป็นต้นไปจนถึงค่ำ เพราะทั้งสองช่วงนี้มีคน พลุกพล่าน ทุกคนจะรีบเดินทางกลับบ้าน จุดที่มื คนพลุกพล่านจะเป็นป้ายรถเมล์หน้าห้างสรรพสินค้า หน้ามหาวิทยาสัย สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง สำหรับ อุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในการล้วงกระเป๋าก็จะมี กระดาษหนังสือพิมพ์ สมุดเอกสารขนาดใหญ่ ถุง กระดาษ อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับใช้ปิดบังตอน ล้วงกระเป๋าเพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นสังเกตเห็น เป้าหมายจะเน้นผู้หญิงแต่งต้วดีสะพายกระเป๋ามี ราคาดูแล้วมีฐานะ ไม่จำกัดอายุว่าจะต้องเท่าใด โดย หัวหน้าจะเป็นคนคอยเล็งดูเหยื่อว่าคนไหน ถ้าเจอ เหยื่อแล้วก็จะส่งสัญญาณให้เพื่อนร่วมทีมปฏิบัติการ รู้ว่าผู้หญิงคนนั้นใส่เสือสิอะไร แล้วลูกทีมก็จะเดิน ทางตามประกบถ้าเหยื่อขึ้นรถเมล์ ลูกทีมก็จะขึ้น ตามไปยืนประกบที่งข้างหน้าข้างหลังเพื่อไม่ให้ เหยื่อขยับต้วได้ จากนั้นหัวหน้าทีมผู้มีความ ชำนาญการล้วงกระเป๋าก็จะเดินเข้ามาหาเหยื่อแล้ว ใช้กระดาษที่เตรียมมายกขึ้นบังมืออีกข้างหนึ่งล้วง เข้าไปหยิบกระเป๋าเงินออกมา คนล้วงกระเป๋าเป็น คนมือเบาและรวดเร็วมากจนเหยื่อไม่รู้ตัวเลย

7) แก๊งมอมยานอนหลับ  คนร้ายจะใช้วิธีผสมยานอนหลับลง ในกาแฟกระป๋อง ใดยใช้เข็มฉีดยาเจาะเข้าไป บริเวณก้นกระป๋องปีดด้วยสกอตเทป พวกนี้ จิตวิทยาสูง ทำทีเข้ามาตีสนิทชิดเชื้อ พูดคุยส่ง ภาษาท้องถิ่นบอกว่าเป็นคนบ้านเดียวกัน ชักชวน ให้ดื่มกาแฟ แสดงความมีน้ำใจ ซื้อโน่นนึ่มาแบ่งปัน พอผู้ใดยสารหลงเชื่อคิดว่าเป็นคนบ้านเดียวกัน ดื่มเข้าไปสลบ จากนี้นคนร้ายจะทำการหยิบ ทรัพย์สินมืค่าแล้วหลบหนีไป

8) แก๊งตกทอง คนร้ายมีพฤติกรรมการกระทำ ความผิด 2 รูปแบบ คือ
1) คนร้ายจะขับรถออกไปตาม หมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อรับล้างทองให้สะอาดและใหม่ แต่ล้าเจ้าของทองเผลอจะเอาทองปลอมมาเปลี่ยน ท้นที ใดยเจ้าของทองไม่ได้สังเกตหรือเอะใจ ซึ่ง แก๊งตกทองนี้ทำมานานและกระจายต่วไปยังหลาย พื้นที่ ซึ่งมีเจ้าทุกข์หลายรายแต่ก็ไม่สามารถจับ แก๊งมิจฉาชีพนี้ได้
2) คนร้ายจะทำงานกันครั้งละ 2 - 3 คน ใดยใช้รถยนต์ตระเวนไปตามห้างสรรพ สินค้าหรือย่านชุมชน โดยคนร้ายจะเข้าไปยืน พูดคุยกับเหยื่อที่เป็นผู้หญิง รัยรุ่นหรือวัยกลางคน ที่มีสักษณะเชื่อง่าย แล้วเอ่ยปากถามหาถุงใส่ทอง หรือกระเป๋าเล็ก ๆ ที่ทำตกไว้ใดยกลอุบายก็ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ บางครั้งก็บอกว่ามีทองอยู่ 5 บาท บ้าง 10 บาท บ้างจากนั้นไม่เกิน 15 นาที จะมีคนร้ายคนที่ 2 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหญิงวัย กลางคนเดินเข้ามาหาเหยื่อแล้วพูดว่า “คนเมื่อกี้ มาถามหาถุงนั้ใช่หรือไม่” ก่อนจะชวนเดินเข้าไป ในที่ลับตาคน และมีคนร้ายคนที่ 3 จะแนะนำให้ เอาทองที่เก็บได้ใปขายในร้านต่าง ๆ เนื่องจากมีคน รู้จักที่อยู่ในร้านแล้ว แต่เหยื่อต้องทิ้งของมีค่าไว้ เป็นหลักประกัน เมื่อเหยื่อหลงกลคนร้ายทั้งหมด ต่างก็แยกย้ายพากันหลบหนีไปพร้อมของมีค่าซึ่ง กว่าเหยื่อจะรู้ก็สายเกินไป

9) แก๊งใช้ธนบัตรปลอม คนร้ายนำธนบัตรปลอมในราคา ต่างๆ มาจับจ่ายใช้สอยตามตลาด แหล่งท่องเที่ยว ต่างๆ ที่มีประชาชนมาจับจ่ายใช้สอย และเดินทาง มาท่องเที่ยวจำนวนมาก ทำให้ผู้ขายสินค้า หรือให้ บริการไม่มีเวลา หรือไม่ทันสังเกตว่าเป็นธนบัตร ปลอมหรือไม่

10) แก๊งปลอมบัตรเครดิต
- คนร้าย จะ นำอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ไปคัดลอกข้อมูลที่ตู้กดเงินสด อัตโนมัติ (เอทีเอ็ม) มาถ่ายข้อมูลลงในบัตร พลาสติกขาวเพื่อทำปลอมบัตรเครดิต จากนั้นได้ นำบัตรปลอมที่ทำขึ้นใปใช้กดเงินสด ที่ตู้กด เงินสดอัตโนปติ โดยบัตรปลอมอีกส่วนหนึ่งได้ไป ให้เครือข่ายกลุ่มผู้กระทำความผิดนำไปใช้ในการ ซื้อสินค้าตามสถานที่ต่าง ๆ โดยรู้เห็นกับพนักงาน ขาย การใช้เครื่องปลอมบัตร เครดิต 3 ชนิด ได้แก่ เครื่องทำสำเนาแบบแปะติด หรือ Skimmer Hand heal ไปแปะไว้ที่เครื่องรูด การ์ดหรือนัตรกดเงินสด การนำเครื่องคัดลอกเลข รหัสบัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็มไปติดไวไนตู้เอทีเอ็ม และการแอบติดตํ้งกล้องรูเข็มด้านบนเพื่อแอบดู หมายเลขบัตรเอทีเอ็ม โดยทำสืกลมกลืนนับตู้ เอทีเอ็มของธนาคารต่าง ๆ

 11.ข้อควรระวังการหลอกให็โอนเงิน ทางคอมพิวเตอร์ 

(1) คุณได้รับข้อเสนอที่ดีจน แทบจะเป็นไปไม่ได้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถส่ง ซื้อสินค้าราคาแพงในราคาถูกเหลือเชื่อ
(2) คุณชนะการประมูลสินค้า ออนไลน์ ซึ่งผู้ขายรับชำระเงินผ่านบริการโอนเงิน เท่านั้น
(3) คุณได้รับแจ้งว่าคุณถูก ลอตเตอรี่หรือรางรัล แต่ต้องชำระภาษีก่อน
(4) คุณได้รับแจ้งว่าไต้พบสิ่งที่ คุณทำหายตามที่คุณลงประกาศไว้ จึงขอค่านำส่ง และเงินรางวัล
(5) คุณได้ขายสินค้าบางอย่างไป แต่เช็คที่ได้รับนั้นมากกว่าราคาสินค้าที่เสนอขาย จึง ขอให้คุณโอนเงินส่วนที่เกินคืนกลับไป
(6) คุณได้รับข้อเสนอการกู้เงิน ด้วยดอกเบี้ยอัตราต่ำ แต่คุณต้องชำระค่าธรรมเนียม ก่อน หรือการโอนเงินไปล่วงหน้า
(7) คุณได้รับโทรศัพท่โดยอ้าง ว่าเป็นตำรวจหรือพนักงานจากโรงพยาบาล เพื่อ เรียกร้องค่าประกันตัวหรือค่ารักษาพยาบาลคนที่ คุณรัก
(8) คุณอาจได้รับจดหมายหรือ อีเมล์จากคนที่ไม่รู้จักจากต่างประเทศหรือ เจ้าหน้าที่รัฐบาลในต่างประเทศต้องการความ ช่วยเหลือโดยการโอนเงินจากต่างประเทศเข้ามาใน บัญชีของคุณ


12) ข้อควรระวังการถูกหลอกให้ โอนเงินทางตู้เอทีเอ็ม โดยมีรูปแบบรักษณะเป็นการ โทรศัพท์เข้ามือถือท่านโดยเป็นการสุ่มโทร แล้ว อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากร หรือเจ้าหน้าที่ธนาคาร แจ้งให้ทราบว่าท่านจะไต้รับเงินภาษีคืนเป็นเงิน จำนวนมาก หรือเป็นหนี้บัตรเครดิต ซึ่งเมื่อท่าน หลงเชื่อ หรือมีข้อโต้แย้ง จะมีการแนะนำให้ไปทำ ธุรกรรมที่ตู้เอทีเอ็ม เพื่อจะไต้เงินหรือตรวจสอบ ข้อมูล โดยจะแจ้งให้ท่านทำรายการเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งหากท่านไม่เข้าใจและทำตามจะเป็นการโอนเงิน ไปยังบัญชีที่แก๊งต้มตุ๋นจ้างคนเปิดบัญชีไว้ และ เมื่อมีการโอนเงินแล้วแก๊งนี้จะไปถอนเงินจากตู้ เอทีเอ็มในทันที ซึ่งจะทำให้ท่านสูญเสียเงินได้ ซึ่งเคยมีเหยื่อสูญเสียเงินจำนวนหลายแสนให้แก่ แก๊งต้มตุ๋นเหล่านี้แล้ว ฉะนั้นเพื่อจะไม่ให้ถูกหลอก อย่าไปหลงเชื่อในเรื่องดังกล่าว หากมีข้อสงสัยให้ ใทรสอบถามที่หน่วยงานสรรพากรหรือธนาคารที่ แก๊งต้มตุ๋นกล่าวอ้างก่อน

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

การป้องกนการลอบวางระเบิด


3.การป้องกันอาชญากรรม

...


3.7 การป้องกนการลอบวางระเบิด

  • (1)ยานพาหนะที่จอดไว้ในบ้านหรือ สำนักงาน ต้องล็อกประตู ฝากระโปรงหลังและถังน้ำมัน เพื่อป้องกันการลอบวางระเบิด
  • (2)พบบุคคลมีพิรุธ พยายามจดจำ รายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลนั้นแล้วรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ ตำรวจให้ทราบทันที
  • (3)พบวัตถุน่าสงสัยหรือผิดสังเกต อย่าแตะต้อง เปิดดูหรือทำให้กระทบกระเทือน ควร รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถ้าเป็นไปได้ก็ควรนำยาง รถยนต์มาล้อมวัตถุที่ต้องสงสัย
  • (4)เมื่อเกิดระเบิดขึ้น อย่าเข้าไปในที่ เกิดเหตุ ประชาชนควรให้ความร่วมมือ โดยไม่ เข้าไปมุงดู ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ยากยิ่งขึ้น


Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

การป้องกันการปล้น ชิงทรัพย์ของผู้ ไปติดต่อธุรกรรมที่ธนาคาร

3.การป้องกันอาชญากรรม

...


3.6 การป้องกันการปล้น ชิงทรัพย์ของผู้ ไปติดต่อธุรกรรมที่ธนาคาร 

1) การฝาก ถอนเงิน 
(1) การเบิกถอนเงินจำนวนมาก ควรขอกำลังเจ้าหน้าที่ไปคุ้มครอง
(2) ไม่ควรฝากหรือถอนเงินใน เวลาใดเวลาหนึ่งเป็นประจำ
(3) ควรนับเงินจำนวนมากในที่ลับตา
(4) ควรแยกเก็บเงินไว้หลายๆแห่ง

2) คนแปลกหน้า 
(1) ระวังคนแปลกหน้าที่เฝ้าตามอยู่
(2) สงสัยว่ายานพาหนะติดตาม อย่างผิดสังเกต อย่าหยุดหรือจอดรถให้รีบเข้าหา เจ้าหน้าที่ตำรวจ

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558

การป้องกันรถหาย


3.การป้องกันอาชญากรรม

...


3.5 การป้องกันรถหาย 

(l)ซื้อรถใหม่ 
- ควรติดตั้งอุปกรณ์กันขโมย เพิ่มเติม หรือ เปลี่ยนกุญแจใหม่
- การป้องกันรถหายด้วยมือถือ เมื่อต้องจอดรถในบริเวณที่มีความเสี่ยงหรือจอดรถ ไว้นอกบ้านให้ใช้ใทรศัพท์มือถือราคาถูก แต่ใช้งานได้ดี แบตเตอรี่ที่พร้อมใช้งาน ซิมการ์ดระบบ ใดก็ได้ เปิดเครื่อง ปิดเสียง เปิดสั่นทิ้งไว้ แล้วซ่อน ไว้ในรถในจุดที่ลับตาที่คิดว่าคนร้ายจะไม่เห็น และ ล็อกรถตามปกติ

(2)ซื้อรถมือสอง ก่อนซื้อรถต้องขอหมายเลขเครื่อง หมายเลขตัวกัง และสำเนาทะเบียนรถ มาตรวจสอบ กับทะเบียนรถในท้องถิ่นที่รถนั้นมืทะเบียนไว้ เสียก่อน เพราะอาจเป็นรถที่ไม่ถูกต้อง หรือขโมย มาสวมทะเบียน เมื่อซื้อรถมาแล้วควรเปลี่ยนกุญแจ และติดตั้งอุปกรณ์กันขโมยเช่นเดียวกับรถใหม่

(3)จอดรถต้องระวัง ไม่ควรจอดไว้ห่างไกล ควรมีคนเฝ้า ข้อ สำคัญควรตรวจสอบการล็อกกุญแจประตูให้แน่ใจ ก่อนทิ้งรถไป และไม่ควรทิ้งทรัพย์สินสิ่งของมีค่า ไว้ในรถ

(4)จอดในบ้าน จอดรถในบ้านต้องเอาท้ายรถออก นอกบ้านและต้องติดตั้งโคมไฟให้ส่องสว่างให้มอง เห็นทั้งในและนอกรั้วบ้านหากจำเป็นต้องจอดรถ นอกบ้าน

(5)รับบริการ การนำรถไปตรวจเช็ค ซ่อมแซม ล้างอัดฉีด ควรอยู่ดูแลการซ่อมหรือการบริการอื่น ๆ อย่างใกล้ชิด และหากจำเป็นต้องทิ้งรถไว้ซ่อม หรือ บำรุงรักษา จะต้องเลือกสถานที่ที่คุ้นเคยไว้ใจไต้ เท่านั้น


(6)กุญแจรถ เรื่องสำคัญ รถบางชนิดอาจใช้กุญแจรถดอก เดียวกัน สำหรับเปิดประตู ติดเครื่องยนต์ และฝาถังน้ำมัน ดั้งนั้น หากฝาถังน้ำมันหายควรรีบเปลี่ยน กุญแจที่ใช้กับรถเสียใหม่ ใดยใช้กุญแจที่ใช้เฉพาะ เท่านั้น

(7)ระวัง การใช้อุปกรณ์กันขโมย เมื่อติดตั้งอุปกรณ์กันขโมยแล้ว การใช้อุปกรณ์ต้องเก็บเป็นความลับเฉพาะ เพราะ อุปกรณ์บางอย่างใช้รหัสเฉพาะ

(8)รถคุณถูกติดตามจะทำอย่างไร เมื่อรู้ว่าถูกติดตามจึงควรป้องก้น โดยพยายามขับรถเข้าไปในเขตชุมชน ขอความ ช่วยเหลือและแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ใกล้ที่สุด โดยด่วน

(9)จดจำตำหนิรูปพรรณ ควรจดจำข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับ รถของท่านไว่ให้มากที่สุด กรณีรถของท่านยัง ไม่มีตำหนิ ควรทำขึ้นไว้ในจุดที่ผู้อื่นไม่สามารถ สังเกตเห็นและจดจำไว้ให้แม่นยำ

(10)รถจักรยานยนต์ต้องล็อกล้อล่าม การจอดรถจ้กรยานยนต์ นอกจาก จะล็อกกุญแจคอ กุญแจล้อแล้ว ควรล่ามโซ่ไว่ให้ แข็งแรงด้วย และอย่าจอดทิ้งไว้ในที่เปลี่ยว หรือที่ลับตา คนแปลกหน้า อย่ารับคนโบกรถข้างถนน หรือ คนแปลกหน้าขึ้นมาบนรถ นอกบ้าน



Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

การป้องกันการถูกล่อลวงข่มขืน


3.การป้องกันอาชญากรรม

...


3.4 การป้องกันการถูกล่อลวงข่มขืน

  • (1) อย่าแต่งตัวล่อแหลม
  • (2) อย่าดื่มสุรา และของมึนเมาทุกชนิด
  • (3) อย่าหลงเชื่อคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จักมาก่อน
  • (4)ถ้ามีคนมาตีสนิทบอกว่ารู้จัก และ จำไม่ได้หรือไม่แน่ใจ ให้หลีกเลี่ยงด้วยการปฏิเสธ หรือร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใกล้ชิดหรือตำรวจ
  • (5)หลีกเลี่ยงการเดินตามลำพังในที่ เปลี่ยว มืด เช่น อาคารจอดรถ สถานที่รกร้าง
  • (6)หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์คนเดียวกับ คนแปลกหน้า


Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

การป้องกันการล้วงกระเป๋าและชิงทรัพย์ ในที่สาธารณะ


3.การป้องกันอาชญากรรม

...


3.3การป้องกันการล้วงกระเป๋าและชิงทรัพย์ ในที่สาธารณะ


  • (1)ไม่นำทรัพย์สินมีค่าพกติดตัว จำนวนมาก ถ้าจำเป็นควรแยกเป็นหลายๆ ที่ 
  • (2)พกกระเป๋าไว้ในที่ปลอดภัย เช่น กระเป๋ากางเกงด้านหน้า 
  • (3)กระเป๋าถือสตรีไม่ควรหิ้ว หรือ สะพายบ่า ควรถือกระชับมือไว้ 
  • (4)พึงระลึกไว้ว่า คนร้ายเป็นไปได้ทุกเพศทุกวัย 
  • (5)สถานที่ที่นักเกิดเหตุร้ายเช่น ที่รกร้าง ควรหลีกเลี่ยง หรือที่มีฝูงชนเบียดเสียดควร ระมัดระรัง 
  • (6)เมื่อรู้ตัวว่าลูกล้วงกระเป๋าหรือพบเห็น ผู้อื่นลูกล้วงให็รืบส่งเสียงดงขอความช่วยเหลือ


Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

การป้องกันการลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และวิ่งราวทรัพย์ในสถานประกอบการค้า

3.การป้องกันอาชญากรรม

...


3.2การป้องกันการลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และวิ่งราวทรัพย์ในสถานประกอบการค้า


(1)ต้วร้านค้า 
-สำรวจความแน่นหนาแข็งแรง ของกลอนประตูร้านถ้าอยู่เสมอ
-การจัดสถานประกอบการ ควร ให้สามารถมองเห็นจากด้านนอกได้
-ควรติดสัญญาณแจ้งภัยไว้หลาย แห่งในสถานประกอบการ เช่น ใต้โต๊ะทำงาน ห้องน้ำ

(2)การเปิด - ปิดร้าน
-ไม่ควรเปิดแต่เช้าตรู่เกินไปหรือปิดจนดึก
-ขณะกำลงจะเปิดร้าน ถ้ามีคน แปลกหน้ามาติดต่อซื้อขายให้ระมัดระวง หากเป็น ไปได้ควรปฏิเสธ

(3)ขณะอยู่ในร้าน 
-ไม่ควรอยู่ในร้านเพียงลำพัง โดยเฉพาะเด็กหรือสตรี ถ้าต้องไปหยิบของหลัง ร้านควรเรียกคนมาอยู่ดูแลหน้าร้านกับลูกค้าเสมอ
-ระมัดระวังคนแปลกหน้าที่มัก เดินวนเวียนมาหลายๆครั้งควรรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ ตำรวจทราบสังเกตจดจำรายละเอียดคนแปลกหน้า ที่เข้ามาในร้านค้า
-ไม่นำสินค้าราคาแพงๆ มาให้เลือกหลายชิ้น
-ไม่ควรเก็บเงินสดจำนวนมาก หรือทรัพย์สินมีค่าไว้ในร้านค้า

(4)การรับพนักงาน
- ทำทะเบียนประวัติของพนักงาน โดยละเอียด ทั้งรูปถ่าย บัตรประจำตัวประชาชน สถานที่ติดต่อ ที่อยู่ญาติพี่น้อง ฯลฯ

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

การป้องกันการกักทรัพย์ในที่พักอาศัย

3.การป้องกันอาชญากรรม

...



3.1การป้องกันการกักทรัพย์ในที่พักอาศัย

(1)ก่อนออกจากบ้าน 
-ควรมีคนไว้วางใจอยู่ดูแลที่พัก อาศัย ตรวจตราลงกลอนประตู หน้าต่าง ใส่กุญแจ ให้เรียบร้อย
-ถ้าติดสัญญาณเตือนศัย ควร เลือกใช้สัญญาณไซเรนเพื่อให้เสียงดังและเพื่อนบ้าน ใกล้เคียงทราบจะได้ช่วยโทรแจ้งเหตุได้
 -ควรเปิดไฟทิ้งไว้บางห้อง

(2)ก่อนเปิดประตูบ้าน
 -ก่อนเปิดประตูบ้านรับแขก ควร ดูให้ทราบแน่ชัดว่าเป็นผู้ใดหรือคล้องโซ่ไว้ก่อน เปิดประตู
-ไม่เปิดประตูรับคนแปลกหน้า เข้ามาในบ้าน ถ้าจำเป็นพยายามจดจำตำหนิ รูปพรรณ หรือจดทะเบียนยานพาหนะผู้นั้นไว้
 -ตรวจสอบบ้ตรประจำตัวช่างซ่อม หรือตัวแทนบริบัทต่างๆที่จะเข้ามาในบ้าน

(3)นอนหลับตอนกลางคืน
 -เมื่อพลบค่ำควรรูดม่านปิด ไม่ให้คนนอกมองเห็นด้านใน
-เวลากลางคืน เมื่อมีคนอยู่บ้าน ไม่ควรเปิดไฟทิ้งไว้ในบ้าน เพราะคนร้ายจะมอง เห็นทรัพย์สิน ควรเปิดไฟนอกบ้านหรือรอบบ้าน

(4)การจ้างคนรับใช้ 
-การจ้างคนงาน คนรับใช้ควรทำ ประวัติส่วนตํวที่อยู่ ญาติพี่น้องและมีสำเนาบ้ตร ประจำตํวประชาชนไว้ 
-ควรเล่ากลอุบายต่างๆ ของ คนร้ายให้คนในบ้านทราบ เพื่อเป็นตัวอย่าง ไม่ไห้ หลงกล

(5)ข้อควรปฏิบ้ติเสมอเป็นกิจวัตร 
-ที่ว่างเปล่าที่ติดอยู่กับที่พักอาศัย ไม่ควรปล่อยให้ต้นไม้ขึ้นสูง เพราะคนร้ายอาจใช้ เป็นแหล่งกำบังลักทรัพย์หรือหลบหนี
-บริเวณบ้านควรทำรั้วสูง และ แข็งแรง หากติดกรงเหล็กดัดต้องเผื่อช่องสำหรับ หลบหนี เมื่อเกิดเพลิงไหม้
-ควรผูกมิตรกับเพื่อนบ้าน เมื่อมี เหตุเภทภัยจะได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น สามารถฝากเพื่อนบ้านช่วยดูแลบ้าน
-เลี้ยงสุนัขหรือสัตว์อื่นที่ส่งเสียงดัง เพื่อช่วยเตือนภัย
-ไม่ควรเก็บทรัพย์สินมีค่า หรือ เงินสดจำนวนมากไว่ในบ้าน
-จดจำรายละเอียดบันทึกทรัพย์สิน มีค่าและถ่ายรูปเก็บไว้
-ถ้ามีโทรศัพท์ซักถามว่ามีคนอยู่ บ้านหรือไม่ ให้ตอบว่าอยู่กันหลายคน
-ร่วมกันจัดระบบความปลอดภัย ในชุมชนที่ตนอยู่ เช่น จัดเวรยาม เป็นต้น

(6)เมื่อเกิดเหตุร้าย 
-ถ้ามีคนร้ายบุกรุก อย่าพยายาม จับคนร้ายด้วยตนเอง ควรตะโกนขอความช่วยเหลือ จากผู้อื่นหรือโทรแจ้งความ 191

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

การขออนุญาตมีใบขับขี่รถยนต์และรถ จักรยานยนต์

2. การขออนุญาตต่าง ๆ

...



2.9 การขออนุญาตมีใบขับขี่รถยนต์และรถ จักรยานยนต์

- กรุงเทพมหานคร ยื่นคำร้องต่อ กรมการขนส่งทางบกของแต่ละเขต
- ต่างจังหวัด ยื่นคำร้องต่อสำนักงาน ขนส่งจังหวัด

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554

การขออนุญาตตั้งสมาคม


2. การขออนุญาตต่าง ๆ

...


2.8 การขออนุญาตตั้งสมาคม
- กรุงเทพมหานคร ยื่นคำร้องที่ กองเอกชนสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2247 0013 ต่อ 308-315
- ต่างจังหวัด :ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

การขออนุญาตฆ่าสุกร วัว ควาย

2. การขออนุญาตต่าง ๆ

...



2.7 การขออนุญาตฆ่าสุกร วัว ควาย

 - กรุงเทพมหานคร ยื่นคำร้องต่อ ผู้อำนวยการเขต
 - ต่างจังหวัด ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอ หรือประธานกรรมการสุขาภิบาล

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

การขออนุญาตเล่นการพนันประเภท ต่าง ๆ

2. การขออนุญาตต่าง ๆ

...



2.6 การขออนุญาตเล่นการพนันประเภท ต่าง ๆ


- กรุงเทพมหานคร ยื่นคำร้องต่อ สถานีตำรวจท้องที่พร้อมที่งวาดแผนผังบริเวณที่มี การเล่นการพนัน

- ต่างจังหวัด :ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอ ท้องที่ นายอำเภอเป็นผู้อนุญาต พร้อมทั้งวาด แผนผังบริเวณบ้านที่เล่นการพนัน

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

การขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง

2. การขออนุญาตต่าง ๆ

...


2.5 การขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง 

นำคำร้องขอใช้เครื่องขยายเสียงจากเขต (กรุงเทพมหานคร) หรืออำเภอ (ต่างจังหวัด) แล้ว นำมายื่นต่อห้วหน้าสถานีตำรวจท้องที่เพื่อพิจารณา มีความเห็นก่อน แล้วนำกลับไปยังงเขตหรืออำเภอ เพื่ออนุญาตต่อไป

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2558

การขออนุญาตแสดงมหรสพงิ้ว

2. การขออนุญาตต่าง ๆ

...



2.4 การขออนุญาตแสดงมหรสพงิ้ว

- กรุงเทพมหานคร ยื่นคำร้องต่อ สถานีตำรวจท้องที่พร้อมบทประพันธ์ เครื่อง แต่งกาย แผนผังสถานที่ และคำยินยอมของเจ้าของ สถานที่ เสนอเรื่องตามลำลำดับขั้นให้ผู้บัญชาการ ตำรวจ นครบาลเป็นผู้พิจารณาอนุญาต

- ต่างจังหวัด ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอ ท้องที่พร้อมบทประพันธ์ เครื่องแต่งกาย แผนผัง สถานที่และคำยินยอมของเจ้าของสถานที่ โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาอนุญาต

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปีน

2. การขออนุญาตต่าง ๆ

...



2.3 การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปีน (แบบ ป.3 และ ป.4 ) การขอรับโอนมรดกอาวุธปีน)



- กรุงเทพมหานคร ยื่นคำร้องที่ศูนย์ บริการประชาชน วงไชยา กรมการปกครอง ถนน นครสวรรค์เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 งานอาวุธปีน โทร. 0-2356-9543

- ต่างจังหวัด :ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอ ท้องที่ ทางอำเภอยื่นเรื่องต่อไปยังจังหวัด ในเขต จังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อนุญาต

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

การขออนุญาตจุดดอกไม้เพลิง

2. การขออนุญาตต่าง ๆ

...



2.2 การขออนุญาตจุดดอกไม้เพลิง

- กรุงเทพมหานคร ยื่นคำร้องที่ สถานีตำรวจท้องที่เพื่อเสนอเรื่องตามลำดับชั้นให้ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
- ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอ ท้องที่

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

การขออนุญาตแสดงมหรสพชั่วคราว


2.การขออนุญาตต่าง ๆ

...


2.1 การขออนุญาตแสดงมหรสพชั่วคราว 

- กรุงเทพมหานคร ยื่นคำร้อง ต่อสถานีตำรวจท้องที่ที่แสดงมหรสพ 

- ต่างจังหวัด
  • 1) ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ นายอำเภอเป็นผู้อนุญาต 
  • 2) เมื่อได้รับอนุญาตแล้วทางอำเภอ จะแจ้งให้ตำรวจท้องที่ทราบ 
  • 3) ต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของ สถานที่ที่จ้ดมหรสพ 
  • 4) ต้องขออนุญาตใช้เครื่องขยาย เสียงด้วย (ถ้ามี) 
  • 5) เลิกแสดงมหรสพไม่เกินเวลา 24.00 น.


Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

เอกสารการแจ้งที่พักของชาวต่างชาติ ของผู้ประกอบการที่พัก

1.คำแนะน่าในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ



1.20 การแจ้งที่พักของชาวต่างชาติ 

การแจ้งที่พักของชาวต่างชาติ ที่เข้าพัก อาศัยในเคหสถาน ได้แก่ โรงแรม เกสต์เฮ้าส์ แมนชน อะพาร์ตเมนต์ บ้านเช่า ให้ผู้ประกอบการ ดำเนินการแจ้งที่พักของชาวต่างชาติโดยแจ้งต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 24 ชวโมง นับแต่เวลา ที่ชาวต่างชาติเข้าพักอาศัย

- กรุงเทพมหานคร ณ สำนักงาน ตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถนนแจ้งว้ฒนะ ซอย 7 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหสักสี่กรุงเทพฯ 10210โทร. 0 2141 7881

- ต่างจังหวัด ณ ที่ทำการตรวจคน เข้าเมือง ซึ่งตํ้งอยู่ในท้องที่เคหสถานหรือโรงแรม นั้นอยู่ หมายเหตุ พบเห็นชาวต่างชาติกระทำ ความผิดหรือมีพฤติกรรมต้องสงสัยแจ้งข้อมูลได้ที่ 1178

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

เอกสารการขอหนังสือรับรองความประพฤติ

1.คำแนะน่าในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ




1.19 การขอหนังสือรับรองความประพฤติ

สำหรับบุคคลสัญชาติไทย ติดต่อศูนย์บริการออกหนังสือรับรอง ความประพฤติ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถนนพระราม 1 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 02-205-2168-9 โทรสาร 02-205-1295,02-205-2165 E-mail: pcsc@police.go.th

1) กรณีพำนักอยู่ในประเทศไทย ต้อง มีเอกสารประกอบ ดังนี้


  • (1) หนังสือเดินทาง
  • (2) บัตรประจำตัวประชาชน 
  • (3) ทะเบียนบ้าน 
  • (4) หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ/ นามสกุล (ถ้ามี) 
  • (5) ใบสำคัญการสมรส / หย่า(ถ้ามี) 
  • (6)หลักฐานทางการทหาร(สด.8, 9, 43 ฯ) 
  • (7) กรณีผู้เยาว์ต้องได้รับความ ยินยอมจากผู้ปกครอง 
  • (8) ยื่นใบคำร้องด้วยตนเองพร้อม สำเนาหลักฐานทุกฉบับและรับรองความถูกต้อง (ไม่มีค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น) 
  • (9) ผู้ร้องสามารถรับหนังสือด้วย ตนเองหรือชำระค่าไปรษณีย์ลงทะเบียนเพื่อจัดส่ง เอกสาร 
  • (10) หนังสือมอบอำนาจแก่ผู้มา รับแทน กรณีไม่สามารถมารับหนังสือได้ด้วยตนเอง ระยะเวลาดำเนินการ 7 วันทำการ ยกเว้น ตรวจสอบพบประวัติการกระทำความผิด หรือ ส่งมอบเอกสารไม่ครบ 



2)กรณีพำนักอยู่ต่างประเทศ ต้องมี เอกสารประกอบ ดังนี้ 


  • (1) สำเนาหนังสือเดินทาง 
  • (2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 
  • (3) สำเนาทะเบียนบ้าน 
  • (4) สำเนาหลักฐานการเปลี่ยน ชื่อ/นามสกุล (ถ้ามี) 
  • (5) สำเนาใบสำคัญการสมรส/หย่า (ถ้ามี) 
  • (6) สำเนาหลักฐานทางการทหาร (สด.8, 9, 43 ฯ)
  • (7) รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป 
  • (8) แผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ จำนวน 2 แผ่น (สามารถติดต่อขอพิมพ์ลายนิ้วมือได้ที่ สถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศ นั้น ๆ หรือสถานีตำรวจในประเทศที่พำนักอยู่) 
  • (9) หนังสือมอบอำนาจให้ บุคคลอื่นดำเนินการแทน 
  • (10) หนังสือแสดงความประสงค์ ขอหนังสือรับรองความประพฤติ ไม่มืค่าธรรมเนียมใดๆ ที่งสิ้น หาก ต้องการให้จัดส่งทางไปรษณีย์ให้แนบซองจดหมาย พร้อมที่อยู่ของผู้ร้องและจัดเตรียมค่าไปรษณีย์เพื่อ จัดส่งกลับ ใดยใช้เป็น International postage voucher จำนวน 5 ใบ ระยะเวลาดำเนินการ 7 วันทำการ ยกเว้น ตรวจสอบพบประวัติการกระทำความผิด หรือ ส่งมอบเอกสารไม่ครบ


Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

เอกสารสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา

1.คำแนะน่าในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ




1.18 สิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา มีดังนี้

  • (1) มีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงาน แจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจ้บ หรือผู้ต้องหาไว้ วางใจทราบถึงการถูกจ้บและสถานที่ที่ถูกควบคุม ในใอกาสแรก 
  • (2) มีสิทธิพบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็น ทนายความเป็นการเฉพาะตัว 
  • (3) มีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตน ไว้วางใจเข้าร่วมฟังการสอบสวนปากคำในชั้นสอบสวน 
  • (4) มีสิทธิได้รับการเยี่ยมเยียนหรือ ติดต่อกับญาติได้ตามสมควร 
  • (5) มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาล ใดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย


Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

เอกสาร การประกันตัวผู้ต้องหา

1.คำแนะน่าในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ



1.17 การประกันตัวผู้ต้องหา 


1) การปฏิบัติ

  • (1) ให้ผู้ที่มาขอประกันตัวผู้ต้องหา ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของคดีหรือไม่ก็ตาม 
  • (2) หากไม่อาจเขียนคำร้องประกัน ได้เองให้ร้องขอต่อพนักงานสอบสวน เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ช่วยเขียนคำร้องให้ไดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ 
  • (3) เมื่อรับคำร้องแล้ว ให้ขอ หลักฐานการรับสัญญาประกันที่ลงเวลารับคำร้อง ไว้ด้วย 
  • (4) พนักงานสอบสวนจะแจ้งผล การส่งคำร้องให้เสร็จภายใน24ชั้วโมงนับแต่เวลาที่ รับคำร้อง
  •  (5) หากไม่ได้รับความสะดวก หรือล่าช้าใหรีบเข้าพบหรือแจ้งต่อสารวัตร สารวัตรหัวหน้างานคนใดคนหนึ่ง หรือหัวหน้าสถานีตำรวจ นั้นให้ทราบทันที การประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมตัว อยู่ในขั้นสอบสวน ควรมีหลักฐานดั้งนี้ 
             (1) บัตรประจำตัวประชาชน
             (2) หลักทรัพย์ที่จะใช้เป็นหลักประกัน ได้แก่
                     - เงินสด (เงินตราของรัฐบาลไทยเท่านั้น)
                     - โฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดิน ได้ประเมินราคาแล้วหรือพนักงานสอบสวนเชื่อว่าที่ ดินมีราคาไม่น้อยกว่าสองเท่าของจำนวนเงินที่ ระบุไว้ในสัญญาประกัน
                     - หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.ร ก) ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาแล้ว หรือพนักงานสอบสวนเชื่อว่าที่ดินมีราคา ไม่น้อยกว่าสองเท่าของจำนวนเงินที่ระบุไว่ใน สัญญาประกัน
                     - พันธบัตรรัฐบาล
                     - สลากออมสินหรือสมุดฝากเงิน ธนาคารประเภทฝากประจำ
                     - ใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร
                     - ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย และธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว
                     - ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็น ผู้ออกตั๋ว
                     - เช็คที่ธนาคารเป็นผู้ส่งจ่ายหรือรับรอง
                     - หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อ ชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีที่ผิดสัญญาประกันในกรณีที่ผู้ยื่นขอประกันมีครอบครัว แล้ว จะต้องทำหนังสือแสดงการอนุญาตจากสามี หรือภรรยาแล้วแต่กรณีไปด้วย 



2) การใช้บุคคลเป็นประกัน ผู้ขอประกัน

1. ผู้ฃอประกันเป็นบุคคลธรรมดา 
1.1 ผู้ฃอประกันต้องเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าทีการงานหรือมีรายได้แน่นอน และ
1.2 เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหา หรือ
1.3 เป็นบุคคลทีเห็นว่ามีความ สัมพันธ์ใกล้ชิด เสมือนเป็นญาติพี่ น้องหรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที เห็นสมควรให้ประกันได้ วงเงินสัญญาประกัน - ให้พิจารณาจากเงินเดือน หรือรายได้โดยให้ทำสัญญาไม่เกิน 10 เท่า ของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ผู้ขอประกัน

2. ผู้ฃอประกันเป็นนิติบุคคล
- กรณีผู้ต้องหาเป็นกรรมการ ผู้แทน ตัวแทน หุ้นส่วนพนักงาน ลูกจ้าง ของนิติบุคคล วงเงินสัญญาประกัน - ตาม ที่ เห็นสมควรเป็นกรณีๆ ไป ผู้ขอประกัน

3. ผู้ขอประกันเป็นส่วนราชการ 
วงเงินสัญญาประกัน - ตาม ที่ เห็นสมควรเป็นกรณีๆ ไป ผู้ขอประกัน

4. ผู้ต้องหาทำสัญญาประกันตนเอง
4.1 ผู้ต้องหาต้องเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าทีการงานหรือมีรายได้แน่นอน
4.2 ผู้ต้องหาเป็นพนักงานหรือ ผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์เภสัชกร พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ทนายความ ผ้สอบบัญชี ครู ผ้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อมวลชน หรือผู้ประกอบวิชาชีพอี่นที่เห็นสมควรให้ประกันได้ และการกระทำทีถูกกล่าวหาว่าเป็นความผิดเกิดจากการปฏิบัติหน้าทีหรือการปฏิบัติงานในการประกอบวิชาชีพนั้น วงเงินสัญญาประกัน
            - ให้พิจารณาจากเงินเดือน หรือรายได้ใดยให้ทำสัญญาไม่เกิน10 เท่า ของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ย
            - ให้พิจารณาจากเงินเดือน หรือรายได้โดยให้ทำสัญญาไม่เกิน 15 เท่า ของ อัตราเงินเดือน หรือรายได้เฉลียต่อเดือน



 3) การพิจารณาการให้ประกันตัว ผู้ตัองหา 

(1) การพิจารณาการให้ประกันตัว ผู้ต้องหา เป็นดุลยพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจที่ จะให้ประกันหรือไม่ให้ประกันก็ได้โดยจะพิจารณาถึง
     - ความหนักเบาแห่งข้อหา
     - พยานหกักฐานที่สอบสวนไปแล้วมีเพียงใด พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างใด
     - เชื่อถือผู้ร้องขอประกัน หรือหลักประกันได้เพียงใด
     - ภัยอันตรายหรือความ เสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยต้วชั่วคราวมีเพียงใด หรือไม่ผู้ต้องหาน่าจะหลบหนีหรือไม่

(2) หากเจ้าพนักงานตำรวจ พิจารณาอนุญาตให้ประกันตัวไปได้ ก็จะนำสัญญา ประกันลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน และยึด หลักทรัพย์หรือเงินเท่าที่ท่านยื่นประกันไว้โดยออก ใบสำอัญแสดงการรับไว้ให้ด้วย แล้วผู้ต้องหาจะได้ รับการปล่อยตัวชั่วคราวไป
(3) หากเจ้าพนักงานตำรวจไม่อนุญาตให้ประกัน อันสีบเนื่องจากเหตุในข้อ (1) ก็ จะแจ้งให้นายประกันทราบและคืนหลักทรัพย์หรือเงิน ที่ท่านยื่นประกันไว้

Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

เอกสารแจ้งความจ่ายเช็คโดยไม่มีเงิน

1.คำแนะน่าในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ




1.16 แจ้งความจ่ายเช็คโดยไม่มีเงิน

  • (1) เช็คที่ยึดไว้ 
  • (2) หนังสือที่ธนาคารแจ้งขัดข้องหรือ ปฏิเสธการจ่ายเงิน 
  • (3) หลักฐานหรือเอกสารซึ่งเป็นมูลหนี้ แห่งที่มาของการจ่ายเช็ค เช่น หนังสือสัญญาซื้อขาย ฯลฯ


Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก

เอกสาร แจ้งความถูกทำร้ายร่างกายและเหตุ ฆ่าคนตาย

1.คำแนะน่าในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ



1.15 แจ้งความถูกทำร้ายร่างกายและเหตุ ฆ่าคนตาย

  • (1) ให้ผู้ดูแลรักษาสถานที่เกิดเหตุไว้อย่า ให้ผู้ใดเข้าไปแตะต้องหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ในที่เกิดเหตุ จนกว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะไปถึง ที่เกิดเหตุ
  •  (2) เมื่อพบ มีด ไม้ ปืน ของมีคม หรือ อาวุธที่คนร้ายทิ้งไว้ในสถานที่เกิดเหตุ ตลอดจน พยานหสักฐานต่าง ๆ ที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุหาก ปล่อยทิ้งไว้จะสูญหายหรือเสียหายให้แจ้งเจ้าหน้าที่ ตำรวจหรือนำมามอบเจ้าหน้าที่ตำรวจ 
  • (3) รายละเอียดต่างๆ เท่าที่สามารถ บอกให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทราบ


Download Click!!!


ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก