6.ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
...6.2 ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่ลงโทษ ผู้กระทำผิดต่อเด็ก
1) การกระทำที่ห้ามกระทำต่อ เด็กภายใต้บทบัญณูติแห่งกฎหมายอื่นที่ไม่ว่าเด็กจะ ยินยอมหรือไม่
(1) กระทำหรือละเว้นการกระทำ กันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
(2) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่ง จำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือการรักษาพยาบาลแก่ เด็กที่อยู่ในความดูแลของตน จนน่าจะเกิดกันตราย แก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
(3) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่า จะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด
(4) โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือ เผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็ก ให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่ เป็นการกระทำของทางราชการหรือได้รับอนุญาต จากทางราชการแล้ว
(5) ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อน หรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทาน หรือการกระทำผิด หรือกระทำด้วยประการใดอัน เป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก
(6) ใช้จ้าง หรือวานเด็กให้ทำงาน หรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือ จิตใจ
(7) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำ การใด เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมี อักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือ พัฒนาของเด็ก หรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรม ต่อเด็ก
(8) ใช้ หรือยินยอมให้เด็กเล่น การพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปในสถานที่เล่น การพนัน สถานค้าประเวณี หรือสถานที่ที่ห้าม มิให้เด็กเข้า
(9) บังค้บ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการ อันมีลักษณะลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ ได้มาซึ่งค่าตอบแทนเพื่อการใด
(10) จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้ สุรา หรือบุหรี่แก่เด็ก เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์ “ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุก1 ไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
2) ห้ามใฆษณา (ประจาน) ให้เสียหาย ห้ามมิให้ผู้ใดใฆษณาหรือเผยแพร่ทางสีอมวลชน หรือสื่อสารสนเทศประเภทใดซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับ ตัวเด็กหรือผู้ปกครองใดยเจตนาที่จะทำให้เกิด ความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียงเกียรติคุณ หรือ สิทธิประใยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหา ประโยชน์สำหรับตนเอง “ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
3) การสอบปากคำเด็กอายุไม่เกิน สิบแปดปี การสอบปากคำเด็กไวในฐานะเป็น ผู้เสียหายหรือพยาน ให้ใช้สถานที่ที่เหมาะสมโดย ให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์บุคคลที่ เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมด้วย
Download Click!!!
ที่มา กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมษายน 2554 กลับหน้าหลัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น